เปลี่ยนธีมขยายหน้าจอ
  • 5803เข้าชม
  • 0ตอบกลับ

รู้จักวัดสองพี่น้องกัน.... [คัดลอกลิงค์]

ถอยกลับ ถัดไป
ออฟไลน์ watkaeng

UIDผู้ใช้ลำดับที่ 6

เพศ : ชาย

 โพสต์ : 2068

 สำคัญ : 0

 เงิน : 2020 (บาท)
 ความดี : 1047 (แต้ม)
 เครดิต : 2061 (แต้ม) [เติม]
 จิตพิสัย: 997 (แต้ม)
เหรียญ

ดูเหรียญทั้งหมด

เฉพาะโพสต์แรก ลำดับปกติ เครื่องมือ ลิงก์โพสนี้   โพสต์เมื่อ: 2012-09-26 07:13:58: 2012-09-26 จำนวนผู้เข้าชม: 5803 ท่าน
ประวัติความเป็นมา

          

ในสมัย ร.๗  เสด็จประพาสเขาตอหม้อมาตามแม่น้ำเพชร  มาประทับที่สองพี่น้องมีนางสนมติดตามมาด้วยคือ  เจ้าจอมเอี่ยม  เจ้าจอมอ่อม นางสนมได้ชวน  ตาตอง ตาเบี่ยว  ไปอุปสมบท ณ  วัดบวรฯ ต่อมาได้มาอยู่ที่สองพี่น้อง ตั้งที่พักสงฆ์ขึ้น  จนมรณภาพ ก็ไม่มีพระอยู่ชาวบ้านจึงใช้ศาลานี้ประกอบพิธีทางศาสนาประเพณีชาวกระเหรี่ยง  มีพ.ศ.๒๕๑๒หลวงตาใจซึ่งมาจากวัดท่าซิกธุดงธ์มาปักกลดที่บ้านสองที่น้องชาวบ้านจึงชวนให้อยู่โดยกำนันพุฒพ่อของกำนันปะมอบที่ดินให้สร้างสำนักสงฆ์ อยู่จนมรณภาพลง
            จากคำบอกเล่าของกำนันปะ  โกงกาง อดีตกำนันสองพี่น้อง

วัดเก่าสองพี่น้อง

          ปีพ.ศ. ๒๕๓๐ทางคณะตำบลได้ส่งพระอธิการสมัชา  มหาปญฺโญมาอยู่ พ.ศ. ๒๕๓๐ – ๒๕๔๔ ได้ลาสิกขาบท ทางคณะตำบลได้ส่งพระใบฏีกาประสิทธิ์  ปภาธโร มาจำพรรษาอยู่ตั้งแต่  ๒๕๔๔ – ๒๕๔๘ ได้ลาสิกขาบท ต่อมาได้ส่งพระอธิการเมธา ยโสธโร มาดูแลวัดสองพี่น้อง  ตั้งแต่ ปี ๒๕๔๘ - ปัจจุบัน



วัตถุประสงค์       ชาวบ้านสองพี่น้องอยากให้มีวัดเพื่อเป็นจุดศูนย์รวมจิตใจและประกอบพิธีทางพระพุทธศาสนา  ประจำหมู่บ้านสองพี่น้อง      
ปัญหา        ก็มีอยู่บ้างอยู่ห่างไกลจากวัดอื่นๆ  และอยู่ในถิ่นทุรกันดารถนนหนทางไม่สะดวกเพราะเป็นทางเกวียนไปมาไม่สะดวก  เป็นที่ราบสูง
ประวัติวัดสองพี่น้อง

ชื่อวัดโดยทางราชการ  วัดสองพี่น้อง    สังกัดคณะสงฆ์มหานิกายอยู่ในเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบล  แก่งกระจาน  สองพี่น้อง อำเภอแก่งกระจาน  จังหวัดเพชรบุรี  
          
                                                             ตำแหน่งที่ตั้งวัด
ตั้งอยู่เลขที่ ๙๙ หมู่ที่   ตำบลสองพี่น้อง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี



                                                            ที่วัดและทีธรณีสงฆ์
ที่ตั้งวัดมีเนื้อที่  ๒๕ ไร่  ๑ งาน  ๔๐ ตารางวา มีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน คือ   น.ส.๓  เลขที่ ๑๘๐  โดยเป็นชื่อวัดสองพี่น้อง



                                                            ลักษณะพื้นที่โดยทั่วไป

เป็นเนินเขา  อยู่ใกล้ชุมชนมีบ้านเรือนราษฏร ๑.ใกล้สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบล โรงเรียนบ้านสองพี่น้อง และ สถานีอนามัยสองพี่น้องบริเวณรอบวัดเป็นบ้านเรือนราษฏรและพื้นที่ทำการเกษตรของชาวบ้าน  ทิศเหนือยาว  ๑๖๐ เมตร   ทิศใต้  ยาว ๒๑๐.๕๐ เมตร  ทิศตะวันออก  ยาว ๓๑๐  เมตร   ทิศตะวันตก ยาว  ๓๕๒  เมตร
                                                               หลักฐานการตั้งวัด
หนังสืออนุญาตให้สร้างวัด  เมื่อวันที่ ๑๕   เดือน  มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๒
และหนังสือตั้งวัดในพระพุทธศาสนาประกาศ ณ  วันที่  ๒๕ กันยายน
พ.ศ.๒๕๓๘
เมื่อประมาณ๒๐ กว่าปี ทางคณะสงฆ์อำเภอแก่งกระจานได้มอบหมายให้เจ้าคณะตำบลแก่งกระจาน ดำเนินการนำพระภิกษุสงฆ์เข้ามาดูแลพื้นที่และปฏิสังขรณ์วัดสองพี่น้อง  มีรายนามต่อไปนี้เป็นหัวหน้าที่พักสงฆ์และเจ้าอาวาสตามลำดับต่อไปนี้
            

          
                                                  พระภิกษุสงฆ์ที่อยู่จำพรรษาประจำปีพ.ศ.  ๒๕๕๔

จำนวน  ๑๒  รูป
มีไวยยาวัจกร  ๑ คน  คือ  นาย เลื่อน  เพลาไง้


                                                              มีกรรมการวัด ๖ คน  
๑.         นายปะ โกงกาง                                              ๒.        ผู้ใหญ่พุด    ตีวี
๓.        นายณรงค์ บัวสุวรรณ                                     ๔.        นายยศสันติ   สมใจ
๕.        นายประยงค์    ดุมพรหม                                 ๖.         นายจอง    ตีวี


                                                                                                  

รูปเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

๑.  ชื่อพระอธิการเมธา  ยโสธโร  อายุ   ๕๘ ปี  พรรษา ๑๔
วัดสองพี่น้อง  ตำบลสองพี่น้อง  อำเภอแก่งกระจาน  จังหวัดเพชรบุรี  ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสองพี่น้อง ตำบลสองพี่น้อง อำเภอแก่งกระจาน  
จังหวัดเพชรบุรี
๒. สถานะเดิม  ชื่อนายเมธา  ยอดแขก เกิดวันศุกร์ที่  ๓ เดือนกุมภาพันธ์
พ.ศ.  ๒๔๙๖ ปีมะเส็ง
                 บิดาชื่อนายม้วน  ยอดแขก     มารดาชื่อ นางพูน  ยอดแขก  
            อยู่บ้านเลขที่   ๑๙๒ ถนนราชดำเนิน  ตำบลคลองกระแซง  อำเภอเมือง
จังหวัดเพชรบุรี

๓.  อุปสมบท เมื่อวันที่   ๑๙  เดือนมีนาคม พ.ศ.  ๒๕๔๒  ณ วัดแก่งกระจาน  ตำบลแก่งกระจาน  อำเภอแก่งกระจาน  จังหวัดเพชรบุรี
            พระอุปัชฌาย์  พระครูวิบูลย์พัชราภรณ์   วัดวิบูลย์ประชาสรรค์
ตำบลท่าคอย  อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี
            พระกรรมวาจารย์    พระมหาณรงค์   อาจาโร วัดแก่งกระจาน  ตำบลแก่งกระจาน  อำเภอแก่งกระจาน  จังหวัดเพชรบุรี
            พระอนุสาวนาจารย์  พระบุญเชิด ฐานปุญโญ  วัดแก่งกระจาน  ตำบลแก่งกระจาน   อำเภอแก่งกระจาน  จังหวัดเพชรบุรี
            ๔. วิทยฐานะ
            พ.ศ. ๒๕๑๔ สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาปีที่  ๓  โรงเรียนท่ายางวิทยา
ตำบลท่าคอย  อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี
            พ.ศ. ๒๕๔๒ สอบนักธรรมตรีได้ ในสำนักศาสนศึกษาวัดแก่งกระจาน  
ตำบลแก่งกระจาน  อำเภอแก่งกระจาน  จังหวัดเพชรบุรี
            พ.ศ. ๒๕๔๔  สอบนักธรรมโทได้  ในสำนักศาสนศึกษาวัดแก่งกระจาน
ตำบลแก่งกระจาน อำเภอแก่งกระจาน  จังหวัดเพชรบุรี
            พ.ศ.   ๒๕๔๕  สอบนักธรรมเอกได้ ในสำนักศาสนศึกษาวัดแก่งกระจาน
ตำบลแก่งกระจาน   อำเภอแก่งกระจาน  จังหวัดเพชรบุรี
                                                    ดำรงตำแหน่งวัดสองพี่น้อง

  เมื่อวันที่   ๓๑  มีนาคม พ.ศ.  ๒๕๔๘  ปัจจุบันนี้รวม  ๗ ปี พร้อมกันนี้ได้บริหารและการปกครองวัดสองพี่น้องตามพระธรรมวินัย   พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ปี  พ.ศ. ๒๕๐๕  (ฉบับที่  ๒ ) และกฎระเบียบของมหาเถรสมาคม ในเทศกาลเข้าพรรษาพระภิกษุ สามเณร  และอุบาสก  อุบาสิกา ไหว้พระสวดมนต์  เจริญพระกัมมัฎฐาน  เป็นกิจวัตรประจำวัน
๑.งานปกครอง

          ๑.         พระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์ภายในวัดต้องประพฤติ ปฏิบัติตามกฎระเบียบกติกาของวัด และพระราชบัญญัติคณะสงฆ์  กฎระเบียบมหาเถรสมาคม  ระเบียบต่างๆตามที่กำหนดขึ้น
            ๒.        พระภิกษุในวัดต้องลงฟังพระปาติโมกข์ทุกกิ่งเดือน
            ๓.        พระภิกษุสามเณรทุกรูปต้องเรียนศึกษาพระธรรมวินัย  ตามกฎของคณะสงฆ์  เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าอาวาส
            ๔.        พระภิกษุสามเณรในวัดต้องสวดมนต์  เช้า – เย็น  เป็นประจำ เว้นไว้แต่มีเหตุจำเป็น

            ๕.        มีกิจกรรมภายในวัด  ต้องช่วยกันทำอย่างพร้อมเพรียงกัน
            ๖.         ห้ามพระภิกษุสามเณรก่อการทะเลาะวิวาทกันเด็ดขาด
            ๗.        ห้ามพระภิกษุสามเณรเล่นการพนันพร้อมกีฬาทุกชนิดและสิ่งเสพติดทุกชนิด
            ๘.        พระภิกษุสามเณรไม่นำความเดือดร้อนมาสู่หมู่คณะ และวัดอันเป็นบ่อเกิดแห่งความเสื่อมเสียต่อวัด  และ สถาบันศาสนา
            ๙.         พระภิกษุสามเณรจักต้องไม่ว่ายากสอนยาก  ต้องมีความอ่อนน้อมถ่อมตน  และยำเกรงต่อผู้อาวุโส  และจักต้องมีความสามัคคีในหมู่คณะ
            ๑๐.      เมื่อพระภิกษุสามเณรจำเป็นต้องมีธุระออกไปนอกวัด  ต้องแจ้งต่อเจ้าอาวาสก่อน หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าอาวาสซึ่งสามารถออกไปทำธุระครั้งละไม่เกิน   ๑๕ วันยกเว้นไปปฏิบัติธรรม หรือเพื่อไปศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย
            ๑๑.      พระภิกษุสามเณรต้องช่วยกันรักษา  ทรัพย์สมบัติของศาสนาและทรัพย์สมบัติของวัด
            ๑๒.     พระภิกษุสามเณรต้องไม่ทิ้งขยะมูลฝอยตามใจตัวเอง
            ๑๓.      หามมีเพื่อนฆราวาสมาขอพัก  ต้องแจ้งให้เจ้าอาวาสทราบ จึงจะอนุญาตให้เข้าพักได้
            ๑๔.      ต้องนุ่งห่มครองผ้าเป็นปริมณฑลสมควรแก่สมณะสารูปที่ดี



                                                                               ส่งพระเข้าสอบนักธรรม
๑. มีการจัดการให้มีการศึกษาพระปริยัติธรรมภายในวัด จัดสอน
ธรรมศึกษาจัดให้พระภิกษุไปสอนธรรมศึกษาในสถานศึกษา
จัดโครงการปฏิบัติธรรม

๒. จัดการส่งเสริมให้ภิกษุสามเณรศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกธรรมศึกษา   ส่งเสริมให้พระภิกษุสามเณรศึกษาพระบาลีโดยส่งไปยังสำนักเรียนต่างๆ
๓.        บริจาคปัจจัยร่วมตรวจนักธรรมตรีและบาลี
อบรมสามเณรวัดถ้ำเสือ

            ๑.         เป็นพระวิทยาการถวายความรู้อบรมสามเณรภาคฤดูร้อนวัดถ้ำเสือ
            ๒         เป็นผู้ถวายความรู้ในโครงการอบรมจิตเพื่อชีวิตใหม่ของอำเภอแก่งกระจาน
            ๓.        เป็นผู้อุปถัมภ์ในโครงการอบรมจิตเพื่อชีวิตใหม่อำเภอแก่งกระจาน

            ๔.        มีการจัดกิจกรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเป็นประจำมิได้ขาดทั้งบำเพ็ญทาน  รักษาศีล เจริญภาวนา

มอบทุนการศึกษาแก่นักเรียนทุกปี
๑. การส่งเสริมหรือการสนับสนุนการศึกษาสงเคราะห์ให้แก่โรงเรียนกศน.และหน่วยงานราชการ ส่งเสริมอาชีพต่างๆของประชาชนสนับสนุนกองทุนการศึกษาต่างๆแก่เด็กยากจน หรือผู้ด้อยโอกาส
      ๒. จัดทุนตั้งกองทุนชื่อวัดสองพี่น้อง(ทุนนักเรียนชั้นประถมศึกษา)
                                                                                       การสังคมสงเคราะห์

๑. การให้ความช่วยเหลือ สงเคราะห์ ด้านต่างๆเช่นสงเคราะห์ผู้อยากไร้             ช่วยเหลือผู้ประสบภัย
๒.ได้บริจาคข้าวสารอาหารแห้งให้แก่ประชาชนที่ถูกอุทกภัย
๓. อำนวยความสะดวกแก่ผู้มาทำบุญที่วัดและนอกวัด



วัดสองพี่น้องมีจุดเด่น  ก็คือ ร่มรื่น ต้นไม้มาก เงียบสงบเหมาะแก่การปฏิบัติธรรม ภูมิทัศน์สวยงาม
การปรับปรุงแก้ไข   ก็คือ กุฏิสงฆ์ต้องบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่
ไม่เคยมีอธิกรณ์ใดๆ ที่สร้างความแตกร้าวแก่หมู่สงฆ์เกิดขึ้นภายในวัด  
พร้อมกันนี้ญาติโยมได้ให้ความร่วมมือในการพัฒนาวัดสองพี่น้องในทุกๆด้าน
และร่วมมือในการสร้างอุโบสถ   ศาลาฌาปนสถาน ห้องสุขา  เป็นต้น

ขอขอบคุณการเอื้อเฟื้อข้อมูลจากพระรุ่งทิพย์   เลขานุการเจ้าคณะตำบลวังจันต์


ให้คะแนนโพสต์ตามความรู้สึกคุณ

สุดยอด

เศร้า

น่าตลก

แฮปปี้

โกรธ

เบื่อ

ผวา
ผู้ให้ย่อมเป็นที่รักของผู้ถูกให้:
กล่องตอบกลับด่วน
จำกัด255 ตัวอักษร
ขี้เกียจตอบหรือเปล่า ใช้ตรงนี้สิ!!
กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
 
ถอยกลับ ถัดไป