เปลี่ยนธีมขยายหน้าจอ
  • 5260เข้าชม
  • 0ตอบกลับ

มะขามไทย [คัดลอกลิงค์]

ถอยกลับ ถัดไป
ออฟไลน์ love

UIDผู้ใช้ลำดับที่ 131

เพศ : ไม่ระบุเพศ

 โพสต์ : 2

 สำคัญ : 0

 เงิน : 2 (บาท)
 ความดี : 2 (แต้ม)
 เครดิต : 2 (แต้ม) [เติม]
 จิตพิสัย: 0 (แต้ม)
เหรียญ

ดูเหรียญทั้งหมด

เฉพาะโพสต์แรก ลำดับปกติ เครื่องมือ ลิงก์โพสนี้   โพสต์เมื่อ: 2012-10-02 20:15:41: 2012-10-02 จำนวนผู้เข้าชม: 5260 ท่าน



สุนทรี  สิงหบุตรา.(2555) มะขามมีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Tamarindus indica L.อยู่ในวงศ์Fabaceae มีลักษณะทางพฤษศาสตร์  คือ ต้นสูง 15-25 เมตร ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยรูปขอบขนาน กว้าง 5-8 มิลลิเมตร ยาว 1-1.5เซนติเมตร  ดอกช่อ ออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง กลีบดอกสีเหลืองมีลายสีม่วงแดง ผลเป็นฝัก มีเนื้อหุ้มเมล็ด สีน้ำตาล ฉ่ำน้ำ สรรพคุณทางการแพทย์แผนไทย เปลือกต้น รสฝาด สรรพคุณ ต้มเอาน้ำชะล้างบาดแผลทำให้หายเร็ว ฝนกับน้ำปูนใสใส่แผลเรื้อรังทำให้หายเร็วใบแก่ รสเปรี้ยวฝาด สรรพคุณ ขับเสมหะในลำไส้ แก้บิด แก้ไอต้มน้ำโกรกศีรษะเด็กเวลาเช้ามืด แก้หวัดคัดจมูก เนื้อในฝัก รสเปรี้ยวจัด สรรพคุณกัดเสมหะ แก้กระหายน้ำ ทำให้เกิดน้ำลาย น้ำส้มมะขามเปียก รสเปรี้ยว สรรพคุณ รับประทานกับน้ำปูนใสขับเลือด ขับลมสำหรับสตรี เปลือกเมล็ด รสฝาด สรรพคุณคั่วไฟเอาเปลือกแช่น้ำรับประทาน แก้ท้องร่วง แก้อาเจียน เมล็ดใน คั่วแล้วรสมันเบื่อ สรรพคุณ ขับพยาธิไส้เดือนตัวกลม

Razali และคณะ (2012)ศึกษาผลของตัวทำละลายที่มีขั้วหลากหลายชนิดในสารสกัดที่ออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระจากส่วนของใบ, เมล็ด, เส้นใบและผิวใบของใบมะขาม ผลของสารสกัดในตัวทำละลายแต่ละชนิดให้สารประกอบฟีนอลิกที่ออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระดังนี้ เมทานอล > เอทิลแอซิเตต > เฮกเซน โดยให้ค่าฟีนอลิกอยู่ในช่วง 3.17 – 309 มิลลิกรัมสมมูลย์กรดแกลลิก/กรัม  ซึ่งสารสกัดเมทานอลให้ผลของสารประกอบฟีนอลิกสูงที่สุดโดยสามารถต้านอนุมูลอิสระ DPPH ได้ดี และสารสกัดเมทานอลจากเมล็ดให้ผลการรีดิวซ์ ferric สูงที่สุดเช่นกัน
Escalona-Arranzและคณะ (2010)รายงานว่าใบของมะขามสามารถต้านเชื้อแบคทีเรียและ                        เชื้อราได้ในงานวิจัยนี้จึงต้มยาสดและยาแห้งจากใบด้วยร้อยละ 30 และ 70เอทานอล-น้ำ และทดสอบน้ำมันหอมระเหยจากใบมะขามต้านเชื้อแบคทีเรีย Bacillussubtilis, Enterococcus faecalis, Staphylococcus aureus, Escherichia  coli, Salmonella typhimurium, Pseudomonaaeruginosa และ Candida albicans.
เอกสารอ้างอิง
1.สุนทรี  สิงหบุตรา.โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.เข้าถึงได้จาก :http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_16_3.htm. (วันที่ค้นข้อมูล : 2 ตุลาคม  2555).
2. RazaliNurhanani, Mat-Junit Sarni, Abdul-Muthalib Amirah Faizah, SubramaniamSenthilkumar, Abdul-Aziz Azlina. (2012).  Effects of varioussolvents on the extraction of antioxidant phenolics from the leaves, seeds,veins and skins of Tamarindus indica L.  Food Chemistry.  131(2); 441-448.
3.Escalona-Arranz, Julio Cesar, Peres-Roses, Renato, Urdaneta-Laffita, Imilci,Camacho-Pozo, Miladis Isabel, Rodriguez-Amado, Jesus; Licea-Jimenez,Irina.  (2010).  Antimicrobialactivity of extracts from Tamarindus indica L. leaves.  PharmacognosyMagazine.  6(23); 242-247.

ให้คะแนนโพสต์ตามความรู้สึกคุณ

สุดยอด

เศร้า

น่าตลก

แฮปปี้

โกรธ

เบื่อ

ผวา
ผู้ให้ย่อมเป็นที่รักของผู้ถูกให้:
กล่องตอบกลับด่วน
จำกัด255 ตัวอักษร
ขี้เกียจตอบหรือเปล่า ใช้ตรงนี้สิ!!
กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
 
ถอยกลับ ถัดไป