ตั้งกระทู้ ตอบ
กลับไปยังรายการ
  • 25026เข้าชม
  • 0ตอบกลับ

ประโยชน์ของ การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน [คัดลอกลิงค์]

ถอยกลับ ถัดไป
ออฟไลน์ watkaeng

UIDผู้ใช้ลำดับที่ 6

เพศ : ชาย

 โพสต์ : 2068

 สำคัญ : 0

 เงิน : 2020 (บาท)
 ความดี : 1047 (แต้ม)
 เครดิต : 2061 (แต้ม) [เติม]
 จิตพิสัย: 997 (แต้ม)
เหรียญ

ดูเหรียญทั้งหมด

เฉพาะโพสต์แรก ลำดับปกติ เครื่องมือ ลิงก์โพสนี้   โพสต์เมื่อ: 2010-06-25 22:12:29: 2010-06-25 จำนวนผู้เข้าชม: 25026 ท่าน
ประโยชน์ของ การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน โดยสรุปมี ๕ ประการด้วยกัน

๑. ทำให้ผู้ปฏิบัติมีจิตใจผ่องใส
๒. ทำให้ผู้ปฏิบัติมีจิตใจที่มั่นคง หนักแน่น มากขึ้นกว่าเดิม
๓. ทำให้ผู้ปฏิบัติเกิดปัญญา เกิดความเฉลียวฉลาดมากขึ้น
๔. ทำให้ผู้ปฏิบัติหายจากโรคประจำตัวซึ่งไม่สามารถรักษาได้
๕. ทำให้ผู้ปฏิบัติสามารถบรรลุถึงความพ้นทุกข์คือ มรรค ผล นิพพานอันเป็นจุดประสงค์สูงสุดในพระพุทธศาสนาได้

๑. ทําให้จิตของผู้ปฏิบัติผ่องใส ทั้งนี้เพราะ ในขณะที่ผู้ปฏิบัติมีสติตามกําหนดรู้ปัจจุบันอารมณ์อยู่ เช่นขณะกําหนดว่า “พองหนอ…ยุบหนอ…นั่งหนอ…ถูกหนอ”    หรือกําหนดว่า “ขวาย่างหนอ…ซ้ายย่างหนอ” ฯลฯ อยู่นั้น จิตของผู้ปฏิบัติจะประกอบด้วยกุศลเพราะสติเป็นกุศลธรรม ขณะที่สติอันเป็นกุศลธรรมเกิดขึ้นอยู่นั้น อกุศลธรรม (กิเลสธรรมต่างๆ เช่น ความโลภ ความโกรธ ความหลง ความเย่อหยิ่ง ความถือตัว    ความทะนงตน ฯลฯ) ก็จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในขณะนั้น กิเลสธรรมเหล่านี้เป็นสภาวธรรมทางจิตที่ทําให้จิตเศร้าหมอง ในระหว่างที่ผู้ปฏิบัติมีสติตามรู้ปัจจุบันอารมณ์อยู่ กิเลสดังกล่าวจะเกิดขึ้นไม่ได้  เปรียบได้กับขณะที่มีแสงสว่างเกิดขึ้น ความมืดย่อมจะอันตรธานหายไปในทางกลับกันขณะที่มีความมืดเกิดขึ้น ความสว่างก็ย่อมจะอันตรธานหายไปเช่นกัน ขณะใดก็ตามที่ผู้ปฏิบัติมีสติตามรู้ปัจจุบันอารมณ์อยู่ ย่อมเปรียบได้กับขณะที่มีแสงสว่างเกิดขึ้น อกุศลธรรมซึ่งทําให้จิตเศร้าหมองอันเปรียบได้กับความมืดย่อมจะเกิดขึ้นไม่ ได้ในขณะนั้น ฉะนั้น    ผู้ปฏิบัติจึงได้รับประโยชน์ของการเจริญวิปัสสนากรรมฐานประการแรก คือทําให้จิตผ่องใส เพราะเมื่อไม่มีอกุศลที่ทําให้จิตเศร้าหมอง จิตก็จะผ่องใสนั่นเอง หากเราเจริญสติอย่างนี้ไปตลอด เมื่อตายลงในขณะจิตที่เป็นกุศลนั้น ก็จะไปเกิดในสุคติภูมิอย่างแน่นอน

อนึ่ง จิตของคนเรานั้นสามารถรับรู้อารมณ์ได้เพียงอารมณ์เดียวในแต่ละขณะ เราไม่สามารถคิดเรื่องสองเรื่องได้ในขณะจิตเดียวกัน ขณะที่ผู้ปฏิบัติตามรู้ปัจจุบันอารมณ์อยู่ เป็นต้นว่า ขณะที่กําหนดว่า “พองหนอ…ยุบหนอ…นั่งหนอ…ถูกหนอ” อยู่ขณะนั้นจิตของผู้ปฏิบัติกําลังรับรู้อารมณ์อันได้แก่อาการเคลื่อนไหวของ ท้อง-อาการตั้งตรงของร่างกายส่วนบน-อาการถูก เมื่อเป็นเช่นนั้น จิตของผู้ปฏิบัติจัดว่าประกอบด้วยกุศลธรรม กิเลสต่างๆ (ความโลภ ความปรารถนา ความอยากได้ ความต้องการในอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งที่ตนผูกพันอยู่ รวมทั้งความโกรธ ความไม่ต้องการ ความไม่ปรารถนาอารมณ์ที่ตนเองไม่พึงพอใจอย่างใดอย่างหนึ่ง) จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในขณะนั้น เพราะขณะนั้นจิตของผู้ปฏิบัติรับรู้สักแต่ว่ามีอาการเคลื่อนไหว-สักแต่ว่ามี อาการตั้งตรงของร่างกาย-หรือสักแต่ว่ามีอาการถูก การที่จิตของผู้ปฏิบัติมีสติตามกําหนดรู้ปัจจุบันอารมณ์จนกระทั่งความโลภ (ความต้องการในอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง) หรือความโกรธ (ความไม่ต้องการอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง) ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในขณะนั้น จัดว่าเป็นการกําจัดกิเลส คือ ความโลภ ความโกรธ โดยชั่วขณะ เมื่อเป็นเช่นนั้นจะทําให้จิตของผู้ปฏิบัติเกิดความผ่องใส เกิดความสบายใจ แม้กระทั่งหลังจากที่ปฏิบัติไปแล้ว และไม่ได้กําลังตามรู้ปัจจุบันอารมณ์อยู่ก็ตาม ก็ยังคงสามารถรับรู้ถึงความผ่องใสความเบิกบานใจแห่งจิตของตนได้

๒. ทําให้จิตของผู้ปฏิบัติเกิดความมั่นคงหนักแน่นยิ่งกว่าเดิม หมายความว่า ก่อนจะมาปฏิบัติธรรม เราทั้งหลายอาจจะขาดสติที่ตามกําหนดรู้ปัจจุบันอารมณ์อยู่ บางขณะอาจเกิดความโลภ-ความปรารถนา-ความต้องการต่าง ๆ ครอบงําจิตใจของเรา เมื่อไม่ได้มาตามที่ต้องการก็เกิดความไม่พึงพอใจ แต่ถ้าได้สิ่งที่ต้องการมาก็เกิดความหลงใหลพอใจ เมื่อประสบกับอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา ก็เกิดความโกรธ-ความไม่พึงพอใจในสิ่งนั้น บุคคลที่ถูกความโลภ-ความโกรธครอบงําจิตใจจัดว่าเป็นบุคคลที่มีจิตใจไม่มั่น คง เพราะในขณะนั้นจิตจะซัดส่ายหวั่นไหวอยู่กับอารมณ์ที่น่าปรารถนาหรือไม่น่า ปรารถนาเหล่านั้น หากเมื่อท่านทั้งหลายได้เจริญวิปัสสนากรรมฐานอยู่ โดยมีสติตามกําหนดรู้เท่าทันปัจจุบันอารมณ์ ความโลภ (ความปรารถนาในอารมณ์ที่ต้องการ) หรือความโกรธ (ความไม่ปรารถนาในอารมณ์ที่ไม่ต้องการ) ก็จะไม่เกิดขึ้น เมื่อเป็นเช่นนั้นท่านสาธุชนทั้งหลายก็จัดว่าเป็นบุคคลที่มีจิตใจมั่นคงขึ้น กว่าเดิม เมื่อประสบกับอารมณ์ที่ปรารถนาก็จะไม่เกิดความโลภ และเมื่อกระทบกระทั่งกับอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนาก็จะไม่เกิดความโกรธ ประโยชน์ข้อที่สองนี้จึงเป็นประโยชน์ที่ท่านทั้งหลายจะได้รับจากการเจริญ วิปัสสนากรรมฐาน คือ ทําให้จิตของเรามั่นคงไม่หวั่นไหวต่อโลกธรรมมากขึ้น

ผู้ ปฏิบัติที่เจริญวิปัสสนากรรมฐานและบรรลุวิปัสสนาญาณขั้นต่าง ๆ จนถึงสังขารุเปกขาญาณแล้ว จะไม่หวั่นไหวต่อโลกธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ว่าจะพบกับอารมณ์ที่ตนปรารถนาหรือกระทบกับอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนาก็ตาม ขณะนั้นผู้ปฏิบัติจะมีจิตใจมั่นคงไม่หวั่นไหวต่ออารมณ์เหล่านั้น คือไม่มีความปรารถนาต่ออารมณ์ที่ต้องการและไม่มีความไม่พึงพอใจหรือความโกรธ ต่ออารมณ์ที่ตนไม่ต้องการ นอกจากนั้น แม้ประสบกับอารมณ์ที่น่าหวาดกลัว-น่าสะดุ้งกลัวอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ปฏิบัติก็จะรู้เท่าทันอารมณ์นั้นตามที่เป็นจริง ไม่เกิดความกลัว ไม่เกิดความสะดุ้งแต่อย่างใด

๓. ทําให้ผู้ปฏิบัติเกิดปัญญา เกิดความเฉลียวฉลาดมากขึ้น มีความเข้าใจในหลักธรรมมากขึ้น หมายความว่า ก่อนที่ผู้ปฏิบัติจะได้มาเจริญวิปัสสนากรรมฐาน อาจจะได้อ่านหนังสือธรรมะอย่างใดอย่างหนึ่งมาบ้างแล้ว-โดยเฉพาะหนังสือที่ เกี่ยวกับการปฏิบัติธรรม แต่อาจยังไม่เข้าใจแจ่มชัด ขาดความกระจ่างในหลักวิชาการ ซึ่งเกี่ยวกับธรรมะในพระพุทธศาสนา หลังจากที่ท่านทั้งหลายได้เจริญวิปัสสนากรรมฐาน เช่น ประมาณ ๑๐ วันหรือ ๑ เดือน เมื่อกลับไปอ่านหนังสือธรรมะนั้นอีกก็จะพบว่า ตนเองมีความเข้าใจในหลักธรรมของพระพุทธศาสนามากขึ้นกว่าเดิม และเมื่อได้อ่านธรรมะขั้นสูงเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมก็จะสามารถเกิดความ กระจ่าง เกิดความเข้าใจมากขึ้นกว่าตอนที่ยังไม่ได้ปฏิบัติธรรม การที่ผู้ปฏิบัติสามารถเกิดความเข้าใจ-ความกระจ่างในการอ่านหนังสือเป็นผล ของการปฏิบัติธรรม คือ มีปัญญาได้แก่ความเข้าใจมากขึ้น จึงจัดว่าเป็นประโยชน์อีกประการหนึ่งของการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน

๔. ทําให้ผู้ปฏิบัติหายจากโรคประจําตัวซึ่งไม่สามารถรักษาได้ หมายความว่า ขณะที่ได้เจริญวิปัสสนากรรมฐาน มีสติตามกําหนดรู้เท่าทันปัจจุบันอารมณ์ มีสมาธิมากขึ้นแล้ว สติที่ประกอบด้วยสมาธินี้จะเป็นสภาวธรรมที่ซักฟอกจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์จาก กิเลส และเมื่อจิตมีความผ่องใสบริสุทธิ์จากกิเลส รูปธรรมซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกับจิตก็จะเป็นรูปธรรมที่สะอาดผ่องใสและได้รับการ ซักฟอกอยู่เสมอ เมื่อเป็นเช่นนั้นโรคประจําตัวต่างๆที่เคยเกิดขึ้นมาและมาปรากฏในขณะที่ เจริญวิปัสสนากรรมฐานอยู่ หากผู้ปฏิบัติได้พยายามปฏิบัติจนบรรลุถึงอุทยัพพยญาณ (วิปัสสนาญาณ ที่ ๔) แล้ว โรคต่าง ๆ เหล่านั้นมักจะหายไป ผู้ปฏิบัติบางท่านมีโรคประจําตัว คือ โรคปวดต้นคอบ้าง โรคปวดที่ไหล่บ้าง โรคปวดที่หลังบ้าง โรคปวดเอวบ้าง โรคลมที่ปวดท้องบ้างอยู่เสมอ ๆ เมื่อผู้ปฏิบัติเหล่านั้นได้เจริญวิปัสสนากรรมฐานจนบรรลุถึงอุทยัพพยญาณแล้ว โรคดังกล่าวมักจะอันตรธานหายไปด้วยอํานาจสมาธิของผู้ปฏิบัตินั่นเอง นอกจากนั้น หากหมั่นทําความเพียรพยายามปฏิบัติจนบรรลุถึงสังขารุเปกขาญาณ เมื่อนั้น โรคประจําตัวที่แม้กระทั่งหมอยังรักษาไม่ได่ เช่น โรคมะเร็ง ก็สามารถหายไปได้เช่นเดียวกัน เพราะขณะนั้นสมาธิของผู้ปฏิบัติสูงมาก จนสามารถทําให้โรคดังกล่าวอันตรธานไปได้ด้วยอํานาจของสมาธินั้น

อนึ่ง ถ้าโรคประจําตัวดังกล่าวไม่รุนแรงมากจนเกินไป    เมื่อบรรลุถึงสังขารุเปกขา ญาณ    ผู้ปฏิบัติจะรู้สึกว่าโรคประจําตัวนั้นได้แสดงอาการออกมา อาจมีอาการปวดเจ็บ-ชา จิตของผู้ปฏิบัติจะสามารถกําหนดรู้เท่าทันอาการซึ่งเกิดขึ้นได้และจะรู้สึก ว่าจิตได้แนบสนิทไปกับอาการปวด-เจ็บ-ชา ซึ่งเกิดขึ้นตรงบริเวณที่มีโรคประจําตัว หลังจากปฏิบัติได้สักระยะหนึ่งและมีสมาธิมากขึ้นแล้ว ผู้ปฏิบัติหลายท่านก็สามารถหายจากโรคประจําตัวเหล่านั้นได้

๕. ทําให้ผู้ปฏิบัติสามารถบรรลุถึงความพ้นทุกข์คือ มรรค ผล นิพพาน อันเป็นจุดประสงค์สูงสุดในพระพุทธศาสนาได้ เมื่อ ผู้ปฏิบัติบรรลุถึงสังขารุเปกขาญาณ และมีบารมีแก่กล้าเพียงพอที่จะบรรลุถึงอริยมรรคอริยผลได้ก็จะบรรลุถึงอนุโลม ญาณ…ถึงโคตรภูญาณ…และจากนั้นก็จะบรรลุถึง โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล ขณะนั้นจิตของผู้ปฏิบัติจะรับรู้พระนิพพานอันเป็นสภาพดับสังขารธรรม (คือรูปธรรมกับนามธรรมเป็นอารมณ์) จัดว่าผู้ปฏิบัติได้สามารถบรรลุถึงพระนิพพานซึ่งเป็นประโยชน์ประการสุดท้าย อันเป็นประโยชน์ที่สําคัญที่สุดของการปฏิบัติธรรมเมื่อได้บรรลุโสดาปัตติ มรรคโสดาปัตติผลเป็นพระโสดาบันในพระพุทธศาสนาแล้ว จัดว่าเป็นบุคคลผู้ปิดประตูอบายได้ หมายถึง จะไม่ตกไปในอบายภูมิทั้ง ๔ คือ ไม่ไปเกิดเป็นสัตว์นรก-เปรต-อสูรกาย-และสัตว์เดรัจฉานอีกต่อไป ผู้ปฏิบัติที่บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันย่อมปราศจากความลังเลสงสัยในเรื่องนี้ คือ มีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ และรับรู้ด้วยตนเองว่า เมื่อตนได้เสียชีวิตลงแล้ว จะไม่ไปเกิดในอบายภูมิอย่างแน่นอน ความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งจะเกิดขึ้นกับพระโสดาบัน นี้ก็เป็นผลจากการเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั่นเอง แต่สําหรับบุคคลอื่นที่ยังไม่ได้บรรลุเป็นพระโสดาบันก็อาจจะไปเกิดใน อบายภูมิได้

พระโสดาบันนั้นย่อมจะทราบว่าหลังจากตนได้เสียชีวิตแล้ว ย่อมจะได้ไปเกิดใน ภพภูมิที่ดีกว่าปัจจุบัน อันหมายความว่า    แม้หากไปเกิดเป็นมนุษย์อีกครั้งหนึ่งก็จะไปเกิดในตระกูล ที่สูงกว่าภพ ปัจจุบัน ไปเกิดในตระกูลที่มีทรัพย์สมบัติมากกว่าตระกูลที่เกิดในปัจจุบัน และจะเป็นบุคคลที่มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด มีความเชื่อมั่น มีความตั้งมั่นในพระพุทธศาสนามากกว่าบุคคลอื่น หรือหากไปเกิดเป็นเทวดาก็จะเป็นเทพบุตรหรือเทพธิดาที่มีอานุภาพ มียศ มีบริวารมากกว่าเทพบุตรหรือเทพธิดาอื่น นี่คืออานิสงส์ของการเจริญวิปัสสนากรรมฐานสําหรับบุคคลที่บรรลุเป็นพระ โสดาบันแล้ว แม้ในบางขณะพระโสดาบันนั้นอาจเกิดความประมาท เกิดความลุ่มหลงมัวเมาอยู่ในภพบ้าง แต่ท่านก็จะไม่เกิดเกินกว่า ๗ ชาติ เว้นเสียแต่ได้อธิฐานไว้ว่า “ขอให้เกิดมาอีกมากกว่า ๗ ชาติ” อย่างนางวิสาขา เป็นต้น เพราะในขณะที่ยังท่องเที่ยวเกิดในกามภูมิพระโสดาบันมีภพชาติอีกเพียงไม่เกิน ๗ ชาติเท่านั้น เมื่อท่านได้ปฏิสนธิถือกําเนิดจนครบ ๗ ชาติแล้ว ก็จะบรรลุเป็นพระอรหันต์โดยไม่มีการเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป

ขอให้ ท่านสาธุชนคนดีทั้งหลาย ผู้มีศรัทธาในพระพุทธศาสนา ที่เข้าเยี่ยมชมเว็บนี้ มีความกาวหน้าในการปฏิบัติและประกอบด้วยความเข้าใจในประโยชน์ของการเจริญ วิปัสสนากรรมฐานทั้ง ๕ ประการ หมั่นเจริญวิปัสสนากรรมฐาน จนสามารถบรรลุถึงความหลุดพ้น คือ พระนิพพาน ตามสมควรแก่บารมีของตน ๆ ด้วยเทอญฯ
ให้คะแนนโพสต์ตามความรู้สึกคุณ

สุดยอด

เศร้า

น่าตลก

แฮปปี้

โกรธ

เบื่อ

ผวา
ผู้ให้ย่อมเป็นที่รักของผู้ถูกให้:
ตั้งกระทู้ ตอบ
กลับไปยังรายการ
กล่องตอบกลับด่วน
จำกัด255 ตัวอักษร
ขี้เกียจตอบหรือเปล่า ใช้ตรงนี้สิ!!
กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
 
ถอยกลับ ถัดไป