เวอร์ชันเต็ม: [-- ชาวพุทธควรมีท่าทีอย่างไรกับข่าวพระสงฆ์ทางโซเชียล --]

วัดแก่งกระจาน -> ข่าว-ประชาสัมพันธ์ -> ชาวพุทธควรมีท่าทีอย่างไรกับข่าวพระสงฆ์ทางโซเชียล [สั่งพิมพ์] เข้าสู่ระบบ -> ลงทะเบียน -> ตอบกลับ -> ตั้งกระทู้

watkaeng 28-08-2014 13:56

ชาวพุทธควรมีท่าทีอย่างไรกับข่าวพระสงฆ์ทางโซเชียล

ชาวพุทธควรมีท่าทีอย่างไรกับข่าวพระสงฆ์ทางโซเชียล1

ในโลกออนไลน์โชลเชียลนั้นเป็นไปอย่างรวดเร็วมาก แล้วก็เริ่มต้นอย่างง่ายด้วยสมาร์ทโฟน เพียงแค่เห็นสนุกถ่ายเอง โพสเองในหมู่เพื่อน(สำหรับพระบวชใหม่ที่ไม่เข้าใจว่ามีผลกระทบอย่างไร) หรือเพียงแค่เห็นแล้วมโนไปถ่ายปุ๊ป โพสปั๊บ แชร์กระจาย(สำหรับคนทั่วไปเห็นแปลกๆหรือหาเรื่องโพส) บางครั้งเป็นไปอย่างไร้สติ หรือมีปัญญากรอง หรือแค่มโนคิดไปเอง
โดยเฉพาะเรื่องราวของพระสงฆ์นั้นเป็นอาหารอย่างดีสำหรับสื่อไทยเราที่ไม่ค่อยรู้วินัยพระสงฆ์ทั้งๆ ที่เป็นชาวพุทธ เป็นสื่อ
ว่าอะไรคือโลกวัชชะ โลกติเตียน
หรือเป็นปัณณัติวัชชะ ผิดทางวินัย แม้การผิดทางวินัยเองก็มีบทปัญญัติอยู่ในความหนัก ความเบาต่างกันไปเหมือนกฏหมาย
แล้วเมื่อมโนไปเอง ก็ไม่เท่าไหร่ แต่ใส่ไฟวิจารณ์อย่างหนัก ขึ้นบนโชลเชียล คนเห็นก็ช่วยกันแชร์ แม้ว่า…อาจจะเข้าใจว่า ช่วยศาสนา แต่เปล่า เป็นการทำลายความศรัทธาทางอ้อม ทำลายพระพุทธศาสนาอีกทางหนึ่ง โดยไม่รู้ตัว หรือลึก ๆ อาจจะสะใจ เหมือนใช้คำว่า "แชร์ให้ถึงตัวเลย" ประมาณนั้น
เหมือนดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า....ผู้ห้ามการให้ทานย่อมทำลายประโยชน์ทั้งสามฝ่ายคือ....

๑.ทำลายประโยชน์ของผู้ให้ทานที่จะได้บุญกลับไม่ได้

๒.ทำลายประโยชน์ของผู้รับทานคือปฏิคคาหก พระสงฆ์ก็ได้รับทานการถวายนั้นกลับไม่ได้ทานนั้น

และที่สำคัญคือ..

๓.ทำลายประโยชน์ของตนคือเมื่อทำลายประโยชน์ทั้งสองฝ่ายทั้งผู้ให้ที่จะได้บุญ ทั้งผู้รับที่จะได้ทาน เลยกลายเป็นวิบากกรรมแก่ตนดั่งเรือง "ชุมพุกาชีวก"นี่ถือว่า "ทำลายประโยชน์ของตนกลายเป็นบาปกรรม"ไป

เพราะคนที่ทราบข่าว เห็นข่าวก็ไม่อยากทำบุญ ไม่อยากไปวัด ไม่อยากไหว้พระ นั่นถือว่า

"ทำลายประโยชน์ทั้งสามฝ่ายเลย"

ที่หนักคือฝ่ายตน....หากรรมใส่ตัวอย่างง่ายดายเลย

[attachment=10577]

watkaeng 28-08-2014 13:59
ชาวพุทธควรมีท่าทีอย่างไรกับข่าวพระสงฆ์ทางโซเชียล2

๑.สำหรับพระสงฆ์พึงสำรวมระวังเมื่อออกไปนอกวัด เว้นอากัปกิริยาเช่นฆราวาส ไม่พึงเข้าไปในที่อโคจร หรือถ้าจำเป็นต้องไปเพราะเหตุผลบางอย่างพึงระวังอย่างยิ่งพิจรณาในการพูด ทำ ในสถานที่เช่นนั้น

๒.ก่อนจะโพสอะไรพึงพิจรณาด้วยปัญญาว่า เหมาะสมแค่ไหน สร้างศรัทธาแก่ผู้ได้เห็นหรือไม่ อยู่ในงานพิธีสงฆ์หรือเปล่า ที่ทำให้คนเห็นภาพแล้วศรัทธา หรือคนอื่นที่เห็นจะคิดในแง่ลบอย่างไร โดยเฉพาะพระใหม่ เช่นการไม่สวมใส่จีวร หรือพูดหยอกล้อ คำพูดแบบกันเองเกินไป

"เพราะท่านขึ้นสถานะของท่านแต่ผูกพันอยู่กับสถานะศาสนาและความศรัทธา"

ด้วย
๓.ชาวพุทธพึงมีเมตตากับพระใหม่ที่ไม่เข้าใจหรือในฐานะพุทธพุทธบริษัทหนึ่ง(คืออุบาสก อุบาสิกา หรือชาวพุทธ)พึงช่วยกัน เพราะเมื่อห่มจีวร ใช่ว่า จะเข้าใจสถานะความเป็นพระได้หมด แม้พระเก่าก็ดุจกัน การอบรมจากอุปัชฌาย์ อาจารย์ย่อมแตกต่างกันไป

๔.พึงสร้างนิสัยการยกย่องคนดี หาพระดี มองหาจุดดี จุดเด่นซึ่งมีมากมาย ช่วยกันแชร์เป็นความงดงามในสังฆมณฑล ก่อศรัทธา ทำให้เกิดประโยชน์ทั้งสามฝ่ายทั้งผู้ให้ (ทายก) ผู้รับ(ปฏิคาหก) และตนเอง

๕.หากเห็นภาพไม่ดีของพระสงฆ์พึงพิจรณาให้ถ้วนถี่ว่า อย่างไร สมควรแชร์แค่ไหน เพราะเกี่ยวข้องกับประโยชน์สามฝ่ายดังกล่าวแล้ว เราอยู่ในเหตุการณ์ไหม อย่ามโนอย่างเดียว ควรมีแนวทางอื่นไหมที่จะช่วยกันรักษาศาสนา เพราะพระสงฆ์หลายพื้นที่มี ตำรวจพระ(พระวินยาธิการ)ค่อยสอดส่องดูแล ควรสอบพระสงฆ์ผู้รู้ไว้บ้าง ศึกษาธรรมะหรือวินัยพระไว้หน่อย จะได้มีข้อมูลตรวจสอบได้

……ก็ขอเสนอแนวทางไว้สำหรับเราท่านทั้งหลายจะได้ไม่ต้องสร้างกรรมง่าย ๆ แต่เป็นเหตุได้บุญง่าย ๆ พึงคิดว่า....ท่านกับพระพุทศาสนาคือครอบครัวเดียวกัน......!!!!!!!หากท่านมีคนในครอบครัวบวชในพระพุทธศาสนาก็ถือว่าเป็นญาติพระศาสนาแล้ว.แล้วมิใช่แค่ชาตินี้แค่นั้น ตลอดภพ ตลอดชาติอย่างยิ่ง..!!!

[attachment=10578]


เวอร์ชันเต็ม: [-- ชาวพุทธควรมีท่าทีอย่างไรกับข่าวพระสงฆ์ทางโซเชียล --] [-- top --]


Powered by phpwind v8.7 Code ©2003-2011 phpwind
Time 0.030016 second(s),query:2 Gzip enabled