เวอร์ชันเต็ม: [-- ตำนานเมืองพริบพรี (อาณาจักรเพชรบุรี) --]

วัดแก่งกระจาน -> พาเที่ยวเมืองพริบพรี -> ตำนานเมืองพริบพรี (อาณาจักรเพชรบุรี) [สั่งพิมพ์] เข้าสู่ระบบ -> ลงทะเบียน -> ตอบกลับ -> ตั้งกระทู้

watkaeng 07-07-2010 16:41

ตำนานเมืองพริบพรี (อาณาจักรเพชรบุรี)

อาณาจักรเพชรบุรี(ตำนานเมืองพริบพรี)


อาณาจักรเพชรบุรี (พริบพรี) อาณาจักรแคว้นหนึ่งของประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์อยุธยาโดยตรง ทั้งนี้มีกษัตริย์ปกครองราชอาณาจักร ภายหลังเกิดโรคระบาดจึงได้มีการย้ายการตั้งถิ่น ความสำคัญของทฤษฎีหนึ่งของนักประวัติศาสตร์ให้ความสำคัญถึงที่มาของกษัตริย์ผู้สถาปนากรุงศรีอยุธยา ก็คือ พระเจ้าอู่ทอง ซึ่งมาการกล่าวอ้างในหนังสือลาร์ลูแบร์ และคำให้การของคนกรุงเก่า

จากตำนานเมืองนครศรีธรรมราช
              กล่าวไว้ว่า พระพนมทะเลศรีมเหสวัสดิทราธิราชพระบวรเชษฐพระราชกุมาร อันเป็นพระราชนัดดา ได้ลาพระเจ้าปู่พระเจ้าย่ามาตั้งบ้านเมืองอยู่ ณ เพชรบุรี โดยได้นำคนมาสามหมื่นสามพันคน ช้างพังทลายห้าร้อยเชือก ม้าเจ็ดร้อยตัว สร้างพระราชวังและบ้านเรือนอยู่หน้าพระลาน ให้คนเหล่านั้นทำนาเกลือ ครองราชย์อยู่กรุงเพชรบุรีไม่นานนัก มีสำเภาจีนลำหนึ่งถูกพายุมาเกยฝั่ง ชาวเพชรบุรีได้นำขุนล่ามจีนเข้าเฝ้า ขุนล่ามได้ถวายเครื่องราชบรรณาการแก่กษัตริย์เมืองเพชรบุรี ขุนล่ามจีนได้ขอฝาง ทางเมืองเพชรบุรีได้มอบฝางให้จนเต็มเรือ เมื่อเรือกลับถึงเมืองจีน พระเจ้ากรุงจีนทรงทราบจึงโปรดพระราชทานบุตรีชื่อ พระนางจันทรเทวีศรีบาทราชบุตรีทองสมุทร ซึ่งประสูติแต่นางจันทรเมาลีศรีบาทนาถสุรวงศ์พระธิดาเจ้าเมืองจำปาได้ถวายแก่พระเจ้ากรุงจีน พระพนมทะเลศรีมเหสวัสดิทราธิราชทรงมี พระราชบุตรหลายพระองค์ องค์หนึ่งพระนามว่าพระพนมวังมีมเหสีทรงพระนามว่าพระนาง สะเดียงทอง พระพนมทะเลโปรดให้ไปสร้างเมืองนครดอนพระ พร้อมด้วยพระเจ้าศรีราชา พระราชทานคนเจ็ดร้อยคน แขกห้าร้อยคน ช้างสามร้อยเชือก ม้าสองร้อยตัว เมื่อไปถึงเมืองและสร้างพระธาตุ จากตำนานเรื่องนี้แสดงว่า เมืองเพชรบุรีได้เจริญรุ่งเรืองและเป็นเมืองหลวง เป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่ง พระโอรสของกษัตริย์เมืองนี้ได้ไปสร้างเมืองศิริธรรมนครหรือนครศรีธรรมราชและสร้างพระบรมธาตุเมืองนครด้วย
จากคำให้การของชาวกรุงเก่า
              ได้กล่าวถึงพระเจ้าอู่ทองสร้างเมืองเพชรบุรีไว้ว่า พระอินทราชาซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์ของพระเจ้าชาติราชาได้ครองเมืองสิงห์บุรี พระอินทราชาไม่มีโอรส จึงทรงมอบราชสมบัติให้พระราชอนุชาครองราชสมบัติแทน พระนามว่าพระเจ้าอู่ทอง ส่วน พระองค์ได้เสด็จไปซ่อมแปลงเมืองเพชรบุรีเป็นเมืองหลวง บ้างก็กล่าวว่าพระองค์ถูกพระอนุชาและพระมเหสีคบคิดกันจะลอบปลงพระชนม์ พระองค์จึงหนีไปสร้างเมืองเพชรบุรี ต่อมาทรงได้พระราชโอรสองค์หนึ่งทรงพระนามว่า พระอู่ทอง ตามชื่อพระเจ้าอา พระโอรสองค์นี้ประสูติแต่พระมเหสีชื่อ มณีมาลา เมื่อพระอู่ทองมีพระชนม์ได้ 16 พรรษา พระอินทราชาสวรรคต พระองค์จึงได้ขึ้นครองราชย์ ทรงพระนามว่า พระเจ้าอู่ทอง มเหสีทรงพระนามว่า พระนางภูมมาวดีเทวี

แบ่งแยกอาณาเขต
             ในศักราช 1196 พระเจ้าอู่ทองได้ทรงแบ่งเขตแดนกับพระเจ้าศรีธรรมโศกราช เจ้าเมืองศิริธรรมนคร โดยใช้แท่นหินเป็นเครื่องหมาย ทางเหนือเป็นของพระเจ้าอู่ทอง ทางใต้เป็นของพระเจ้าศรีธรรมโศกราช และทั้งสองประเทศจะเป็นไมตรีเสมอญาติกัน หากพระเจ้าศรีธรรมโศกราชสิ้นพระชนม์เมื่อใด ก็ขอฝากนางพญาศรีธรรมโศกราช พญาจันทรภานุและพญาพงศ์สุราหะพระอนุชาด้วยทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนสินค้ากัน โดยทางฝ่ายเพชรบุรีส่งเกลือไปให้ ทางเมืองนครศรีธรรมราชส่งหวาย แซ่ม้าเชือก เป็นต้น มาให้พระเจ้าศรีธรรมโศกราชฯ ให้ซ่อมแปลงพระธาตุและส่งเครื่องราชบรรณาการและพระราชสาส์นมายังพระเจ้าอู่ทอง พระองค์โปรดฯ ให้นำเครื่องไทยทานไปยังเมืองนครศรีธรรมราช ต่อมาเมืองเพชรบุรีเกิดข้าวยากหมากแพง ราษฎรอดอยาก เกิดโรคภัยไข้เจ็บ พระเจ้าอู่ทองจึงทรงหาที่ตั้งเมืองใหม่ โดยทรงตกลงสร้างเมืองขึ้น ณ ตำบลหนองโสน ซึ่งตรงกับสมัยพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ทรงสร้างนครอินทปัตย์ เมื่อ พ.ศ. 1111 เมื่อสร้างเมืองเสร็จแล้วทรง ตั้งชื่อว่ากรุงเทพมหานครบวรทวารวดีศรีอยุธยา มหาดิลกบวรรัตนราชธานีบุรีรมย์ และทรงสถาปนาพระองค์ใหม่ว่าพระเจ้ารามาธิบดีสุริยประทุมสุริยวงศ์

ตำนานเพ็ชรบุรี
             ตำนานเพ็ชรบุรี ฉบับราชบุรี พ.ศ. 2368 กล่าวว่าแต่ในกาลปางก่อนดึกดำบรรพ์โพ้น พระนครเพ็ชรบุรี เป็นเมืองมีกษัตริย์สมมุติราช ครอบครองมาเป็นลำดับๆ เป็นเมืองเกษมสารพร้อมสรรพด้วยความสนุกสำราญรื่นรมย์ ทุกประการ มั่งคั่งด้วยคุณสมบัติและทรัพย์ศฤงคาร ทั้งมีปาโมชอาจารย์เป็นประทานทิศ สั่งสอนสานุศิษย์บรรลุศิลปวิทยาคาถา อาคม เวททางค์ศาสตร์สำเร็จ อิทธิฤทธิ์เป็นเมืองมีเกียรติยศไพศาลแผ่เผยเดชานุภาพความมั่งคั่งสมบูรณ์ไปในนาๆชาติทั้งหลายปราศจากภัยอันตรายศัตรู หมู่ปรปักษ์เสี้ยนหนามชาวเมืองเกษมสำราญบานใจไพร่ฟ้าหน้าใสทั่วหน้ามีฝูงชนกล่นเกลือนล้นหลามไปทั่วทุกภูมิลำเนามากมาย ด้วยชาวเจ้าและพวกพ่อค้านานาชนิดแขกเมืองมาพึ่งพาค้าขายสินค้าใหญ่ที่เป็นประธานทรัพย์นับว่าขึ้นชื่อ ฤๅชา คือ ป่าตาล ดงตาล มีอยู่ทั่วอาณาเขตต์ มีโคตรเพ็ชร์อันเตร็ด ตรัด จำรัสศรี เพลากลางราตรี ส่องแสงสว่างพราวราวกับดาวประดับเขา บังเกิดมีปรากฏขึ้นเป็นเดิม ณ ยอดเขาใหญ่ด้านดินแดน ได้อาศัย แสงเพ็ชร์ พลอยแห่งภูเขานั้นเป็นเหตุภูเขานั้น จึงได้สมญาพิเศษเรียกว่า เขาแด่น คือแลดูด่างพร้อย เพราะเหตุเพ็ชร์พลอย ปรากฏแล้ว ณ ยอดภูเขา นั้นท่านโบราณกษัตริย์ ทั้งหลาย ผู้เป็นต้น ก่น สร้างพระนคร จึงขนานนามกรเมืองนั้นว่า เมืองเพ็ชรบุรี กระนี้แล

จากบันทึกของลาลูแบร์
            ได้กล่าวถึงกษัตริย์เมืองเพชรบุรีไว้ว่า ปฐมกษัตริย์สยามทรงพระนามว่าพระปฐมสุริยเทพนรไทยสุวรรณบพิตร ครองนครไชยบุรี พ.ศ. 1300 สืบราชสันติวงศ์มาสิบชั่วกษัตริย์ องค์สุดท้ายทรงพระนามว่าพญาสุนทรเทพมหาเทพราช โปรดฯ ให้ย้ายเมืองหลวงตั้งชื่อใหม่ว่าธาตุนครหลวง (Tasoo Nocorn Louang) ในปี พ.ศ. 1731 กษัตริย์องค์ที่ 12 สืบต่อมาจากพญาสุนทรฯ ทรงพระนามว่าพระพนมไชยศิริ พระองค์โปรดฯ ให้ราษฎรไปอยู่ ณ เมืองนครไทยทางตอนเหนือของเมืองพิษณุโลก ส่วนพระองค์เองไปสร้างเมืองใหม่ชื่อพิบพลี (Pipeli) ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำสายหนึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา มีพระมหากษัตริย์สืบต่อมา 4 ชั่วกษัตริย์จนถึงองค์สุดท้ายทรงพระนามว่า รามาธิบดี ได้สร้างเมืองสยามขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1894 จากบันทึกนี้กับตำนานเมืองนครศรีธรรมราชมีส่วนคล้ายคลึงกันมาก เพียงแต่เพี้ยนนามเท่านั้น คือ พระพนมทะเลศรีมเหสวัสดิทราธิราชกับพระพนมไชยศิริ ส่วนองค์ที่สร้างกรุงศรีอยุธยานั้นพระนามตรงกัน อย่างไรก็ตาม เรื่องพระพนมไชยศิรินี้ บางตำนานได้กล่าวไว้ว่า เป็นเจ้าเมืองเวียงไชยปราการได้หนีข้าศึกมาจากเมืองสุธรรมวดี (สะเทิม) เมื่อ พ.ศ. 1547 ในตอนแรกจะอพยพครอบครัวไปทางทิศตะวันตกของแม่น้ำกก แต่ในขณะนั้นในแม่น้ำมีมาก จึงล่องใต้มายังตำบลหนึ่งแล้ว จึงสร้างเมืองขึ้นให้ชื่อว่า กำแพงเพชร และที่เมืองสุโขทัยยังมีเมืองๆ หนึ่งชื่อ เมืองเพชรบุรี อยู่ที่อำเภอคีรีมาศริมฝั่งคลองสาระบบ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าศึกษาอย่างยิ่ง

พระนามกษัตริย์
              พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงให้ข้อคิดเห็นว่า "เดิมเมื่อประมาณพันปีเศษมาแล้ว เมืองเพชรบุรีมีกษัตริย์ปกครองเช่นเดียวกับเมืองนครศรีธรรมราช มาจนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นใหญ่ อำนาจของเมืองทั้งสองจึงอยู่ภายใต้การปกครองของกรุงศรีอยุธยา" อย่างไรก็ตาม ถ้าหากจะรวบรวมพระนามกษัตริย์อาณาจักรเพชรบุรีที่ปรากฏมีดังนี้

ลำดับพระนาม/นามตำแหน่งราชวงศ์ช่วงเวลา
1พระพนมทะเลศรีมเหนทราชาธิราชกษัตริย์เพชรบุรี-ไม่ทราบปี

2พระพนมไชยศิริกษัตริย์เพชรบุรี-ไม่ทราบปี

3พระกฤติสารกษัตริย์เพชรบุรี-ไม่ทราบปี

4พระอินทราชากษัตริย์เพชรบุรี-ไม่ทราบปี

5พระเจ้าอู่ทองกษัตริย์เพชรบุรี-ไม่ทราบปี - พ.ศ. 1748
เพชรบุรี: ไม่ทราบปี - พ.ศ. 1748; อโยธยา:พ.ศ. 1748 - 1796[1]
6เจ้าสามกษัตริย์เพชรบุรี-พ.ศ. 1748 - ไม่ทราบปี

-----

-เจ้าวรเชษฐ์กษัตริย์เพชรบุรีสายน้ำผึ้งหลัง พ.ศ. 1868 - 1887
เพชรบุรี: หลัง พ.ศ. 1868 - 1887; อโยธยา: พ.ศ. 1887 - 1893; อยุธยา: พ.ศ. 1893 - 1912


              ต้นวงศ์ของกษัตริย์เพชรบุรีคือ พระพนมทะเลศรีมเหนทราชาธิราช ผู้เป็นเชื้อสายของพระเจ้าพรหมแห่งเวียงไชยปราการ ราชวงศ์นี้ได้ครองเมืองเพชรบุรีมาจนถึงสมัยพระเจ้าอู่ทอง เพชรบุรีเกิดข้าวยากหมากแพง ราษฎรอดอยาก เกิดโรคภัยไข้เจ็บ พระเจ้าอู่ทองจึงได้เสด็จไปสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี [2] [3] อาณาจักรเพชรบุรีจึงขึ้นตรงกับกรุงศรีอยุธยา ความสำคัญของอาณาจักรจึงเป็นเพียงเมืองหนึ่งของอยุธยา
นอกจากนี้ยังสามารถศึกษา ศิลปกรรมเมืองเพชร ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่โดดเด่นอย่างลงตัวแสดงความรุ่งเรืองมาก่อนในอดีตกาล


ที่มา วิกีพีเดีย http://th.wikipedia.org/wiki/ อาณาจักรเพชรบุรี




เวอร์ชันเต็ม: [-- ตำนานเมืองพริบพรี (อาณาจักรเพชรบุรี) --] [-- top --]


Powered by phpwind v8.7 Code ©2003-2011 phpwind
Time 0.022019 second(s),query:1 Gzip enabled