ตั้งกระทู้ ตอบ
กลับไปยังรายการ
  • 4444เข้าชม
  • 0ตอบกลับ

ทำบุญวันตรุษไทยที่วัดแก่งกระจาน [คัดลอกลิงค์]

ถอยกลับ ถัดไป
ออฟไลน์ watkaeng

UIDผู้ใช้ลำดับที่ 6

เพศ : ชาย

 โพสต์ : 2068

 สำคัญ : 0

 เงิน : 2020 (บาท)
 ความดี : 1047 (แต้ม)
 เครดิต : 2061 (แต้ม) [เติม]
 จิตพิสัย: 997 (แต้ม)
เหรียญ

ดูเหรียญทั้งหมด

เฉพาะโพสต์แรก ลำดับปกติ เครื่องมือ ลิงก์โพสนี้   โพสต์เมื่อ: 2012-03-24 07:35:22: 2012-03-24 จำนวนผู้เข้าชม: 4444 ท่าน

     วันตรุษไทย ตรงกับวันแรม 14 - 15 ค่ำ เดือน 4 และวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 5 รวม 3 วัน โดยถือเอาวันแรก คือ วันแรม 14 ค่ำ เป็นวันจ่าย เพื่อตระเตรียมสิ่งของไว้ทำบุญ และวันที่ 2 คือ วันแรม 15 ค่ำ เป็นวันทำบุญตักบาตร  มีการละเล่นสนุกสนานตามประเพณีท้องถิ่น ซึ่งจะเล่นกันจนถึงวันที่ 3 คือวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 4

          ทั้งนี้ คำว่า ตรุษ เป็นคำไทยที่แผลงมาจากภาษาสันสกฤต มี 2 ความหมาย โดยความหมายแรก แปลว่า ตัด หรือ ขาด หมายความถึง วันตรุษไทย ที่มีนัยว่า ตัดปีเก่าที่ล่วงมาแล้วให้ขาดไป ส่วนอีกความหมายหนึ่ง ตรุษ แปลว่า ความยินดี ความรื่นเริงใจ ความบันเทิงใจ ซึ่งหมายถึง วันตรุษสงกรานต์ หรือ วันสงกรานต์ ที่ถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ไทย ทำให้ วันตรุษไทย เปรียบเสมือนวันสิ้นปี หรือเป็นประเพณีทำบุญส่งท้ายปีเก่านั่นเอง

          แต่ด้วยความที่ วันตรุษไทย มักจะอยู่ในช่วงเดือนมีนาคม ซึ่งใกล้กับ วันสงกรานต์ ทำให้ปัจจุบันการจัดงาน วันตรุษไทย ถูกรวบยอดไปจัดในวันสงกรานต์ นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมคนไทยจึงไม่ค่อยรู้จัก วันตรุษไทย

     ระหว่างวันที่ ๒๐ ถึง ๒๕ มีนาคมนี้ เป็นงานบุญประจำปี เทศน์มหาชาติและบวชเนกขัมมบารมี รักษาไว้ซึ่งวันตรุษไทยด้วยคือ แรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ วันตรุษไทยปีนี้ก็มีคนมาทำบุญมากขึ้นเล็กน้อย หลายที่ก็ลืมไปแล้ว ไปให้ความสำคัญในวันสงกรานต์มากกว่า





  

                        ประวัติ วันตรุษไทย

       ประเพณี วันตรุษ แต่เดิมเป็นของพวกอินเดียฝ่ายใต้ เมื่อพวกทมิฬได้มาครองเมืองลังกา ก็ได้นำพิธีตรุษอันป็นวิถีปฏิบัติของลัทธิตนเข้ามาด้วย ทำให้มีการปฏิบัติสืบต่อกันมา จนกระทั่งกลายเป็นงานนักขัตฤกษ์ใหญ่ มีการนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ในวันแรม 14 - 15 ค่ำ เดือน 4 และขึ้น 1 ค่ำ เพื่อให้เป็นสิริมงคลแก่บ้านเมืองของตน

          ส่วนในประเทศไทย มีปรากฎในตำนานนางนพมาศ หรือตำหรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ว่า วันตรุษไทย มีมาแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี โดยพระมหากษัตริย์ผู้ครองประเทศในครั้งนั้นทรงรับเอาประเพณี วันตรุษ มาเป็นพระราชพิธี และทรงทำบุญบำเพ็ญพระราชกุศลเป็นการประจำ เรียกว่า "พระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์" คือ ทำบุญวันสิ้นปีหรือทำบุญส่งปีเก่า โดยกษัตริย์จะนิมนต์พระสงฆ์เข้ามาในพระราชวัง 3 วัน เพื่อทำการเจริญพระพุทธมนต์ และเมื่อสวดเจริญพระพุทธมนต์เสร็จแล้ว จะมีการยิงปืนไปทั่วพระนคร เหมือนกับไล่ผีไล่ปีศาจ ไล่สิ่งที่ไม่ดีทั้งหลายให้หมดไปกับปีเก่า

          หลังจากนั้น ประเพณี วันตรุษไทย หรือ พระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์ ก็กระทำสืบต่อกันมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทางราชการก็ได้มีการสั่งให้ยกเลิกประเพณี พระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์ หรือ พิธีวันตรุษไทยของหลวง โดยให้ยกเอาไปรวมกับพิธีสงกรานต์ เรียกรวมกันว่า พระราชพิธีตรุษสงกรานต์ แต่ในส่วนของชาวบ้านก็ยังมีการประกอบพิธี วันตรุษไทย กันอยู่อย่างเดิม และยังทำอยู่ทั่วไปตามท้องถิ่นต่าง ๆ

          อย่างไรก็ดี สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงวินิจฉัยถึงการเข้ามาของ ประเพณี วันตรุษ ว่า...

          1. อาจได้หนังสือที่เป็นตำรามา ซึ่งเป็นภาษาสิงหฬ และจารึกลงในใบลานด้วยอักษรสิงหฬ แล้วมาแปลออกเป็นภาษาไทยเรา

          2. อาจมีพระเถระชาวลังกา ซึ่งเป็นที่มีความชำนาญในการพิธีตรุษ ได้เข้ามาในเมืองไทย แล้วมาบอกเล่า และสอนให้ทำพิธีตรุษกันขึ้น

          3. อาจมีพระสงฆ์ของไทย ได้ไปเห็นชาวลังกาทำพิธีตรุษ และได้มีโอกาสได้ศึกษาทำพิธีตรุษนั้น จนมีความสามารถทำได้ แล้วก็ได้นำเอาตำรานั้นเข้ามาสู่ประเทศไทย
ในการทำบุญประเพณี วันตรุษไทย ช่วงกลางวัน ก็จะมีการทำบุญตักบาตร และจัดทำข้าวเหนียวแดง และกาละแม ซึ่งเป็นขนมประจำเทศกาล วันตรุษไทย เพื่อทำบุญอุทิศให้กับญาติผู้อุทิศล่วงลับไปแล้วได้เก็บไว้กิน เพราะเก็บไว้ได้นาน มีการไหว้พระเจดีย์ตามวัดต่าง ๆ มีการละเล่นสนุกสนานต่าง ๆ เช่น ร้องเพลงอธิษฐาน เพลงมาลัย เพลงชาวงชัย และเล่นมอญซ่อนผ้า

          ยกตัวอย่างเมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 สมัยที่จอมพลแปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี มีการเล่นรำวงกันเป็นที่ครึกครื้นของหนุ่มสาว ทำให้เกิดความ สามัคคีกันเป็นอย่างดี เมื่อมีกิจการใด ๆ ก็จะร่วมมือช่วยเหลือกันด้วยน้ำใจ ที่เรียกว่า "ลงแขก"  ซึ่งการละเล่นในยามตรุษ มีเนื้อเพลงที่ชาวบ้านแต่งร้องรำกันสนุนสนานรื่นเริงตอนหนึ่งว่า...

          ".....ตอนเช้า ทำบุญตักบาตร ทำบุญร่วมญาติ ตักบาตรร่วมญาติ กันเอย ตอนบ่ายเราเริงกีฬา เล่นมอญซ่อนผ้า เล่นสะบ้าเอย....."  และยังมีเพลงพื้นเมืองที่ควรจะบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ เพราะสมัยนั้นเป็น เวลาที่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็มีเพลงที่เกี่ยวกับเสียงปืนที่หนุ่มสาวนำมาคิด ประดิษฐ์ร้องกันขึ้นว่า...

          "ครืน ครืน ครืน ได้ยินเสียงปืนกระทุกใจหวัง คิดไปหัวใจ เรายัง คิดถึงความหลังก็ยังเศร้าใจเขต แคว้นในแดนไทยเรา ถูกเขามายื้อแย่ง ไป คิดขึ้นมาน้ำตาหลั่งไหล คิดขึ้นมา น้ำตาหลั่งไหล ขึ้นชื่อว่าไทยไม่วายเขาลือ"

          ส่วนในช่วงกลางคืน วันตรุษไทย จะเป็นการเล่นเข้าทรงลงผีต่าง ๆ ตามทางสามแพร่ง สี่แพร่ง ก็มีการแขวนข้าวผอกกระบอกน้ำ ด้วยเพราะมีความเชื่อว่า การที่พระสงฆ์สวดบทอาฏานาฏิยสูตร หรือบทสวดภาณยักษ์ ป็นการสวดเพื่อให้ผีตกใจกลัว และผู้ที่มีปืนก็จะยิงปืนสนั่นหวั่นไหวเพื่อเป็นการไล่ผี (คล้ายพิธีหลวง) โดยผู้เฒ่าผู้แก่จะหยิบเอาปูนและขมิ้นวางไว้ข้างที่นอน เพื่อเอาไว้ให้พวกผีญาติผีเรือน ที่ตกใจกลัววิ่งกันชุลมุนล้มลุกคลุกคลาน จะได้หยิบเอาขมิ้นกับปูนนั้นมาทา และยังเชื่ออีกว่า ถ้าผู้ใดไม่สวดมงคลสูตร ผีอาจวิ่งมาชนล้ม หรือมาหลอกหลอน ทำให้เกิดการเจ็บไข้ได้ป่วย เกิดการเพ้อคลั่งมีกิริยาต่าง ๆ ซึ่งก็ถือกันมาจนปัจจุบัน

          และทั้งหมดนี้คือ ประวัติ ความเป็นมา วันตรุษไทย วันที่คนไทยควรรู้และสืบสาน เพื่อให้ประเพณีดี ๆ วันตรุษไทย ดำรงอยู่คู่สังคมไทยไปอีกนาน




ขอขอบคุณข้อมูลจาก
panyathai.or.th, watyaichaimongkol.net, meeboard.com, kroobannok.com
ให้คะแนนโพสต์ตามความรู้สึกคุณ

สุดยอด

เศร้า

น่าตลก

แฮปปี้

โกรธ

เบื่อ

ผวา
ผู้ให้ย่อมเป็นที่รักของผู้ถูกให้:
ตั้งกระทู้ ตอบ
กลับไปยังรายการ
กล่องตอบกลับด่วน
จำกัด255 ตัวอักษร
ขี้เกียจตอบหรือเปล่า ใช้ตรงนี้สิ!!
กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
 
ถอยกลับ ถัดไป