ตั้งกระทู้ ตอบ
กลับไปยังรายการ
  • 5069เข้าชม
  • 0ตอบกลับ

ประวัติสมเด็จพระพุทฒาจารย์(โต) พรหมรังสี [คัดลอกลิงค์]

ถอยกลับ ถัดไป
ออฟไลน์ watkaeng

UIDผู้ใช้ลำดับที่ 6

เพศ : ชาย

 โพสต์ : 2068

 สำคัญ : 0

 เงิน : 2020 (บาท)
 ความดี : 1047 (แต้ม)
 เครดิต : 2061 (แต้ม) [เติม]
 จิตพิสัย: 997 (แต้ม)
เหรียญ

ดูเหรียญทั้งหมด

เฉพาะโพสต์แรก ลำดับปกติ เครื่องมือ ลิงก์โพสนี้   โพสต์เมื่อ: 2010-06-26 00:02:48: 2010-06-26 จำนวนผู้เข้าชม: 5069 ท่าน
ประวัติสมเด็จพระพุทฒาจารย์(โต) พรหมรังสี



พระชนมายุ ๕ พรรษา ทรงบรรพชา เป็นสามเณร

สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรมรังสี ทรงประสูติเมื่อตอนเช้า เวลา ๐๗.๐๐ น. ตรง ของวันพฤหัสบดี เดือน ๕ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีวอก  ตรงกับวันที่ ๑๗ เมษายน พุทธศักราช ๒๓๓๑ ณ ตำบลไก่จ้น อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ต้นแผ่นดินรัตนโกสินทร์  พระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) พระราชมารดาทรงพระนามว่า เกสรคำ เมื่อพระชนมายุ ๕ พรรษา ได้ทรงบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดระฆังโฆสิตารามมหาวรวิหาร จังหวัดธนบุรี ทรงประพฤติอยู่ในเพศพรหมจรรย์โดยตลอด จนพระชนมายุครบ ๒๐ พรรษา จึงได้ทรงอุปสมบท ณ วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพมหานครนั่นเอง และทรงอยู่ในสมณเพศตลอดจนสิ้นพระชนมายุ ใน เวลาเช้าตรู่ ของวันอาทิตย์ เวลา ๐๖.๐๐ น. ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะเมีย ซึ่งตรงกับวันที่  ๑๙ มิถุนายน  พุทธศักราช ๒๔๑๕  สิริพระชนมายุนับรวมได้ ๘๔ ปี กับ ๒ เดือนเศษ ทรงเป็นพระสงฆ์ ๕ แผ่นดิน ในยุคต้นแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น สมเด็จพระพุฒาจารย์ องค์ที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีชวด พุทธศักราช ๒๔๐๗

โดยปกติเด็ก ๕ ขวบทั่วไป จะไม่สามารถรับผิดชอบตัวเองได้ ต้องได้รับการช่วยเหลือจากผู้ใกล้ชิด มีพ่อแม่พี่น้องเป็นต้น เมื่อหนังสือเล่มนี้เขียนบอกไว้ว่าพระองค์ท่านบรรพชาเมื่อพระชนมายุ ๕ พรรษา โดยได้พบหลักฐานจากการสร้างพระเป็นรูปไก่ ของสมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่ เถื่อน และบันทึกข้อความไว้ว่า “ไก่ ตัวนี้ สุก ไก่ เถื่อน เป็นผู้สร้าง ประสม ทอง เงิน นาน (นาก) ปลุกเสก ๓ พรรษา พ.ศ. ๒๓๓๒ พอ พ.ศ. ๒๓๓๕ หัวโต วัดระฆังก็ขอไปเลี้ยง” หลักฐานชิ้นนี้ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่สำนักธรรมพรหมรังสี

            จากบันทึกของสมเด็จพระสังฆราชสุก ไก่เถื่อน เป็นการยืนยันอย่างชัดแจ้งว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี ได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อพระชนมายุ ๕ พรรษา     และที่วัดระฆังโฆสิตาราม ด้วย แสดงว่า สามเณร โต เป็นผู้มีบุญญาธิการมาประสูติ ดุจเดียวกันกับเจ้าชายสิทธัตถะ เมื่อประสูติ ก็สามารถย่างพระบาทได้ ๗ ก้าว และ อีกพระองค์หนึ่งคือ พระราหุล ซึ่งเป็นพระราชโอรส ของ เจ้าชายสิทธัตถะ ก็ได้บรรพชา ตอนพระชนมายุ ๕ พรรษา เช่นเดียวกัน (เมื่อพระสารีบุตรจรดมีดโกนลงบนพระเศียร เพื่อปลงพระเกศาก็บรรลุพระโสดาบัน และปลงต่อไปจนหมดทั้งพระเศียรก็ทรงบรรลุพระสกิทาคา  พระอนาคา และพระอรหันตา ตามลำดับเป็นที่สุด) จากความเป็นจริงที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกย่อมแสดงให้เห็นโดยชัดแจ้งว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี ได้สั่งสมกุศลบารมีมาเป็นอเนกอนันตชาติดุจเดียวกัน  และไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าพระราหุล และเจ้าชายสิทธัตถะ

น่าจะยืนยันและสรุปได้ว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี ไม่ได้ บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อพระชนมายุ ๑๒ พรรษา ดังที่คนทั่วๆไป เข้าใจกันและยิ่งกว่านั้น สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ไม่ใช่พระสงฆ์ธรรมดาทั่วไปอย่างแน่นอน

พระชนมายุ ๗ พรรษา เริ่มเสด็จออกธุดงค์
            หลังจากทรงบรรพชาเมื่อพระชนมายุ ๕ พรรษาแล้ว ก็เริ่มปฏิบัติธรรมทั้งทางด้านปริยัติ ปฏิบัติและปฏิเวธ ศึกษาค้นคว้าแตกฉานเร็วมากด้วยเหตุแห่งการสั่งสมบารมีมามากเป็นเอนกอนันตชาติ และทรงทราบว่าพระองค์มาจุติหรืออุบัติขึ้นเพื่อเจริญพระศาสนา จึงเร่งศึกษาพระไตรปิฎกอย่างแตกฉานแยกแยะความถูกต้องและผิดพลาดจากการบันทึกไว้ในพระไตรปิฎก เร่งฝึกวิปัสสนาพระกรรมฐานความรู้แจ้งเห็นจริงก็ปรากฏขึ้นในดวงจิตที่มุ่งมั่นสะอาดและบริสุทธิ์

            ทำให้เกิดการรู้เห็นอดีต-ปัจจุบันและอนาคต ยิ่งกว่านั้นรู้ว่าพระองค์มีหน้าที่อะไรจะต้องประพฤติดีปฏิบัติชอบอย่างไร จะต้องโปรดบริวารลูกหลานอย่างไร จึงต้องฝึกจิตรักษาดวงจิตให้เป็นหนึ่งอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้เกิดสมาธิปัญญาอย่างแก่กล้า ได้ฌาน ๔ กสิณ ๑๐ สมาบัติ ๘ สำเร็จโสฬสฌาน จึงเริ่มเสด็จธุดงค์ และมุ่งมั่นไปยังแหล่งสรรพวิชา มหาวิทยาลัยตักศิลา ไปอยู่ตามป่า ตามถ้ำ และในที่สุดก็ไปพบสถานที่หนึ่งซึ่งเคยบำเพ็ญภาวนามาก่อนคือ ถ้ำอิสีคูหาสวรรค์ เมืองกำแพงเพชร พบของเก่ามากมายและที่สำคัญคือใบลานเก่าที่ชำรุดมาก เขียนเป็นภาษาสิงหล “พระคาถาชินบัญชร” พระองค์ท่านได้นำกลับมาเรียบเรียงแก้ไขเป็นภาษามคธ-บาลี เพื่อให้อ่านง่ายและเข้าใจง่าย และได้แปลความหมายของพระคาถาที่ขลังและศักดิ์สิทธิ์มาเป็นร้อยแก้ว เพื่อให้เห็นถึงความสำคัญและอานุภาพของพระคาถา ที่มีค่าท่วมหลังช้าง สามารถนำไปใช้ได้ ๑๐๘ ประการด้วยการสวดท่องและอธิษฐานให้ขจัดทุกข์และบำรุงสุขได้อย่างมหัศจรรย์ ผู้สวดท่องจะทราบทุกคน เพราะเป็นปัจจัตตัง และเป็นสมบัติตกทอดมาจนถึงทุกวันนี้

อ่านเรื่องราวประวัติของสมเด็จพระพุทฒาจารย์(โต) พรหมรังสีได้ที่มา http://www.somdejto.com



                                                              
VCD ภาพยนตร์ชีวประวัติสมเด็จโต
ภาพยนตร์ชีวประวัติสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี วัดระฆัง (แจกเพื่อธรรมทานเท่านั้น ห้ามจำหน่าย) ไฟล์นามสกุล .DAT เปิดได้กับโปรแกรมดูหนังทั่วไป
Download ไฟล์



[ แก้ไขล่าสุดโดย watkaeng เมื่อ 26-06-2010 00:24 ]
ให้คะแนนโพสต์ตามความรู้สึกคุณ

สุดยอด

เศร้า

น่าตลก

แฮปปี้

โกรธ

เบื่อ

ผวา
ผู้ให้ย่อมเป็นที่รักของผู้ถูกให้:
ตั้งกระทู้ ตอบ
กลับไปยังรายการ
กล่องตอบกลับด่วน
จำกัด255 ตัวอักษร
ขี้เกียจตอบหรือเปล่า ใช้ตรงนี้สิ!!
สามารถอัพโหลดไฟล์แนบ สำหรับโพสได้
 
ถอยกลับ ถัดไป