• 3777เข้าชม
  • 0ตอบกลับ

บรรยายธรรมแก่พระมานัตตะจาริกะที่มาเข้าปริวาสประจำปีที่วัดเขากลิ้ง [คัดลอกลิงค์]

ถอยกลับ ถัดไป
ออฟไลน์ watkaeng

UIDผู้ใช้ลำดับที่ 6

เพศ : ชาย

 โพสต์ : 2068

 สำคัญ : 0

 เงิน : 2020 (บาท)
 ความดี : 1047 (แต้ม)
 เครดิต : 2061 (แต้ม) [เติม]
 จิตพิสัย: 997 (แต้ม)
เหรียญ

ดูเหรียญทั้งหมด

เฉพาะโพสต์แรก ลำดับปกติ เครื่องมือ ลิงก์โพสนี้   โพสต์เมื่อ: 2014-02-20 18:01:04: 2014-02-20 จำนวนผู้เข้าชม: 3777 ท่าน






ได้รับการนิมนต์มาจากวัดเขากลิ้งที่ได้เข้าปริวาสกรรมประจำปี ซึ่งมีพระอยู่ปริวาส ๔๐ รูป ผู้บวชเนกขัมมบารมี ๔๕ คน ในค่ำคืนของวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ เวลา ๑๙.๓๐ น. ถึงเวลา ๒๐.๓๐ น.ก่อนจะบอกวัตร ตอนนี้อยู่ในช่วงประพฤติมานัตตะจาริกะ ได้นำเรื่องอันตรธาน ๕ และหน้าที่ของบริษัท ๔ มาบรรยายให้ฟัง โดยอ้างอิงมาจากพระสุตตันตปิฎกดังนี้....


อธิคมอันตรธาน อันตรธานเห่งการบรรลุ ๑
ปฏิปัตติอันตรธานอันตรธานแห่งการปฏิบัติ ๑
ปริยัตติอันตรธาน อันตรธานแห่งปริยัติ ๑
ลิงคอันตรธาน อันตรธานแห่งเพศ ๑
ธาตุอันตรธาน อันตรธานแห่งธาตุ ๑.
              ใน ๕ อย่างนั้น มรรค ๔ ผล ๔ ปฏิสัมภิทา ๔วิชชา ๓ อภิญญา ๖ ชื่อว่า อธิคม. อธิคมนั้น เมื่อเสื่อมย่อมเสื่อมไปตั้งแต่ปฏิสัมภิทา. จริงอยู่ นับตั้งแต่พระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ ๑๐๐๐ ปีเท่านั้น ภิกษุไม่สามารถจะให้ปฏิสัมภิทาบังเกิดได้ ต่อแต่นั้นก็อภิญญา ๖. แต่นั้นเมื่อไม่สามารถทำอภิญญาให้บังเกิดได้ ย่อมทำวิชชา ๓ ให้บังเกิด.
              ครั้นกาลล่วงไป ๆ เมื่อไม่สามารถจะทำวิชชา๓ ให้บังเกิด ก็เป็นพระอรหันต์สุกขวิปัสสก โดยอุบายนี้เอง ก็เป็นพระอนาคามี พระสกทาคามี และพระโสดาบัน. เมื่อท่านเหล่านั้นยังทรงชีพอยู่ อธิคมชื่อว่ายังไม่เสื่อม อธิคมชื่อว่า ย่อมเสื่อมไปเพราะความสิ้นไปแห่งชีวิต ของพระอริยบุคคลผู้โสดาบันชั้นต่ำสุดดังกล่าวนี้ ชื่อว่าอันตรธานแห่งอธิคม.
               ภิกษุไม่สามารถจะให้ฌาน วิปัสสนา มรรค และผล บังเกิดได้ รักษาเพียงจาตุปาริสุทธิศีล ชื่อว่าอันตรธานแห่งข้อปฏิบัติ.
               เมื่อกาลล่วงไป ๆ ภิกษุทั้งหลายคิดว่า เราจะรักษาศีลให้บริบูรณ์และจะประกอบความเพียรเนือง ๆ แต่เราก็ไม่สามารถจะทำให้แจ้งมรรคหรือผลได้ บัดนี้ไม่มีการแทงตลอดอริยธรรม จึงท้อใจ มากไปด้วยความเกียจคร้าน ไม่ตักเตือนกันและกัน ไม่รังเกียจกัน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 168
(ในการทำชั่ว) ตั้งแต่นั้นก็พากันย่ำยี สิกขาบทเล็กน้อย.
               เมื่อกาลล่วงไป ๆ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ถุลลัจจัย ต่อแต่นั้นต้องครุกาบัติ. เพียงอาบัติปาราชิกเท่านั้นยังคงอยู่. เมื่อภิกษุ ๑๐๐ รูปบ้าง ๑๐๐๐ รูปบ้างผู้รักษาอาบัติปาราชิก ยังทรงชีพอยู่ การปฏิบัติชื่อว่ายังไม่อันตรธาน จะอันตรธานไป เพราะภิกษุรูปสุดท้ายทำลายศีล หรือสิ้นชีวิต ดังกล่าวมานี้ ชื่อว่า อันตรายแห่งการปฏิบัติ.

บทว่า ปริยตฺติ ได้แก่ บาลีพร้อมทั้งอรรถกถาในพุทธพจน์ คือ พระไตรปิฎก บาลีนั้นยังคงอยู่เพียงใด ปริยัติก็ชื่อว่ายังบริบูรณ์อยู่เพียงนั้น.
               เมื่อกาลล่วงไป ๆ พระราชาและพระยุพราช ในกุลียุค ไม่ตั้งอยู่ในธรรม เมื่อพระราชาและยุพราชเหล่านั้น ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ราชอมาตย์เป็นต้น ก็ไม่ตั้งอยู่ในธรรม แต่นั้นชาวแคว้นและชาวชนบท ก็ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ฝนย่อมไม่ตกต้องตามฤดูกาล เพราะคนเหล่านั้นไม่ตั้งอยู่ในธรรม. ข้าวกล้าย่อมไม่บริบูรณ์เมื่อข้าวกล้าเหล่านั้นไม่บริบูรณ์ ทายกผู้ถวายปัจจัย ก็ไม่สามารถจะถวายปัจจัยแก่ภิกษุสงฆ์ได้ ภิกษุทั้งหลายลำบากด้วยปัจจัย ก็ไม่สามารถสงเคราะห์พวกอันเตวาสิก.
               เมื่อเวลาล่วงไป ๆ ปริยัติย่อมเสื่อม ภิกษุทั้งหลายไม่สามารถจะทรงจำอรรถไว้ได้ ทรงจำไว้ได้แต่พระบาลีเท่านั้น. แต่นั้นเมื่อกาลล่วงไป ก็ไม่สามารถจะทรงบาลีไว้ได้ทั้งสิ้น. อภิธรรมปิฎกย่อมเสื่อมก่อน. เมื่อเสื่อม ก็เสื่อมตั้งแต่ท้ายมา. จริงอยู่ ปัฏฐานมหาปกรณ์ย่อมเสื่อมก่อนทีเดียว เมื่อปัฏฐานมหาปกรณ์เสื่อม ยมก กถาวัตถุ บุคคลบัญญัติ ธาตุกถา ธัมมสังคณี ก็เสื่อม เมื่ออภิธรรมปิฎก เสื่อมไปอย่างนี้ สุตตันตปิฎก

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 169
ก็เสื่อมตั้งแต่ท้ายมา อังคุตตรนิกายเสื่อมก่อน เมื่ออังคุตตรนิกายเสื่อม เอกาทสกนิบาตเสื่อมก่อน ต่อแต่นั้น ทสกนิบาต ฯลฯ ต่อนั้นเอกนิบาต เมื่ออังคุตตรนิกายเสื่อมไปอย่างนี้ สังยุตตนิกาย ก็เสื่อม ตั้งแต่ท้ายมา. จริงอยู่มหาวรรค เสื่อมก่อนแต่นั้นสฬายตนวรรค ขันธกวรรค นิทานวรรค สคาถวรรค เมื่อสังยุตตินิกายเสื่อมไป อย่างนี้ มัชฌิมนิกายย่อมเสื่อมตั้งแต่ท้ายมา จริงอยู่ อุปริปัณณาสก์ เสื่อมก่อน ต่อนั้น มัชฌิมปัณณาสก์ ต่อนั้นมูลปัณณาสก์. เมื่อ  มัชฌิมนิกายเสื่อมอย่างนี้ ทีฆนิกายเสื่อมตั้งแต่ท้ายมา. จริงอยู่ปาฏิยวรรคเสื่อมก่อน แต่นั้นมหาวรรค แต่นั้นสีลขันธวรรค เมื่อ ทีฆนิกายเสื่อมอย่างนี้ พระสุตตันตปิฎกชื่อว่าย่อมเสื่อม. ทรงไว้เฉพาะชาดกกับวินัยปิฎกเท่านั้น.
               ภิกษุผู้เป็นลัชชีเท่านั้นทรงพระ วินัยปิฎก. ส่วนภิกษุผู้หวังในลาภ คิดว่า แม้เมื่อกล่าวแต่พระสูตร ก็ไม่มีผู้จะกำหนดได้ จึงทรงไว้เฉพาะชาดกเท่านั้น. เมื่อเวลาล่วงไป ๆ แม้แต่ชาดกก็ไม่สามารถจะทรงไว้ได้. ครั้งนั้น บรรดาชาดกเหล่านั้น เวสสันตรชาดกเสื่อมก่อน ต่อแต่นั้น ปุณณกชาดก มหานารทชาดก เสื่อมไปโดยย้อนลำดับ ในที่สุดอปัณณกชาดกก็เสื่อม. เมื่อชาดกเสื่อมไปอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลายย่อมทรงไว้เฉพาะพระวินัยปิฎกเท่านั้น.
               เมื่อกาลล่วงไป ๆ ก็ไม่สามารถจะทรงไว้ได้แม้แต่พระวินัยปิฎก แต่นั้นก็เสื่อมตั้งแต่ท้ายมา. คัมภีร์บริวารเสื่อมก่อน ต่อแต่นั้น ขันธกะ ภิกษุณีวิภังค์ ก็เสื่อม แต่นั้น ก็ทรงไว้เพียงอุโปสถขันธกเท่านั้น ตามลำดับ. แม้ในกาลนั้น ปริยัตติก็ชื่อว่ายังไม่เสื่อม ก็คาถา ๔ บาทยังหมุนเวียนอยู่ในหมู่มนุษย์เพียงใด ปริยัตติก็ชื่อว่ายังไม่อันตรธาน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 170
               เพียงนั้น. ในกาลใด พระราชาผู้มีศรัทธาเลื่อมใสทรงให้ใส่ถุงทรัพย์  หนึ่งแสนลงในผอบทองตั้งบนคอช้างแล้วให้ตีกลองร้องประกาศไป ในพระนครว่า ชนผู้รู้คาถา ๔ บท ที่พระพุทธเจ้าตรัสแล้ว จงถือ เอาทรัพย์หนึ่งแสนนี้ไป ก็ไม่ได้คนที่จะรับเอาไป แม้ด้วยการให้เที่ยวตีกลองประกาศคราวเดียว ย่อมมีผู้ได้ยินบ้าง ไม่ได้ยินบ้าง จึงให้เที่ยวตีกลองประกาศไปถึง ๓ ครั้ง ก็ไม่ได้ผู้ที่จะรับเอาไป. ราชบุรุษทั้งหลาย จึงให้ขนถุงทรัพย์ ๑๐๐,๐๐๐ นั้น กลับสู่ราชตระกูลตามเดิม. ในกาลนั้น ปริยัตติ ชื่อว่า ย่อมเสื่อมไป ดังว่านี้ ชื่อว่า การอันตรธานแห่งพระปริยัตติ.
               เมื่อกาลล่วงไป ๆ การรับจีวร การรับบาตร การคู้ การเหยียด การดูแล การเหลียวดู ไม่เป็นที่นำมาซึ่งความเลื่อมใส.
ภิกษุทั้งหลายวางบาตรไว้ปลายแขนถือเที่ยวไป เหมือนสมณนิครนถ์ ถือบาตรน้ำเต้าเที่ยวไป. แม้ด้วยอาการเพียงเท่านี้ เพศก็ชื่อว่ายังไม่อันตรธาน.
               เมื่อกาลล่วงไป ๆ เอาบาตรลงจากปลายแขนหิ้วไปด้วยมือหรือด้วยสาแหรกเที่ยวไป แม้จีวรก็ไม่ทำการย้อมให้ถูกต้องกระทำให้มีสีแดงใช้. เมื่อกาลล่วงไป การย้อมจีวรก็ดี การตัด ชายผ้าก็ดี การเจาะรังดุมก็ดี ย่อมไม่มี ทำเพียงเครื่องหมายแล้วใช้สอย ต่อมากลับเลิกรังดุม ไม่ทำเครื่องหมาย ต่อมา ไม่การทำทั้ง ๒ อย่าง ตัดชายผ้าเที่ยวไปเหมือนพวกปริพาชก
               เมื่อกาลล่วงไปก็คิดว่า พวกเราจะต้องการอะไร ด้วยการกระทำเช่นนี้ จึงผูกผ้ากาสายะชิ้นเล็ก ๆ เข้าที่มือหรือที่คอ หรือขอดไว้ที่ผม กระทำการเลี้ยงภรรยา เที่ยวไถ่หว่านเลี้ยงชีพ. ในกาลนั้น ชนเมื่อให้ทักขิณา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 171
ย่อมให้แก่ชนเหล่านั้นอุทิศสงฆ์ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงหมาย เอาข้อนี้ จึงตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ในอนาคตกาล จักมีโคตรภูบุคคลผู้มีผ้ากาสายพันคอ เป็นผู้ทุศีล เป็นผู้มีธรรมอันลามก ชนทั้งหลาย ให้ทาน ในคนผู้ทุศีล ผู้มีธรรมอันลามกเหล่านั้น อุทิศสงฆ์ อานนท์ ในกาลนั้น เรากล่าวว่า ทักษิณาไปแล้วในสงฆ์ มีผลนับไม่ได้ ประมาณไม่ได้. แต่นั้น เมื่อกาลล่วงไป ๆ ชนเหล่านั้นคิดว่า นี้ชื่อว่า เป็นธรรมเครื่องเนิ่นช้า พวกเราจะต้องการอะไร ด้วยธรรมเครื่อง เนิ่นช้านี้ จึงทิ้งท่อนผ้าโยนไปเสียในงา. ในกาลนั้น เพศชื่อว่าหายไป.
                 ได้ยินว่า การห่มผ้าชาวเที่ยวไปเป็นจารีตของคนเหล่านั้น มาแต่ครั้งพระกัสสปทศพล ดังว่านี้ ชื่อว่า การอันตรธานไปแห่งเพศ.ชื่อว่า อันตรธานไปแห่งธาตุ พึงทราบอย่างนี้ :- ปรินิพพานมี๓ คือกิเลสปรินิพพาน การปรินิพพานแห่งกิเลส, ขันธปรินิพพาน การปรินิพพานแห่งขันธ์, ธาตุปรินิพพาน การปรินิพพานแห่งธาตุ บรรดาปรินิพพาน ๓ อย่างนั้น กิเลสปรินิพพาน ได้มีที่โพธิบัลลังก์.ขันธปรินิพพาน ได้มีที่กรุงกุสินารา ธาตุปรินิพพาน จักมีในอนาคต.จักมีอย่างไร ?
                 คือครั้งนั้น ธาตุทั้งหลายที่ไม่ได้รับสักการะ และสัมมานะในที่นั้น ๆ ก็ไปสู่ที่ ๆ มีสักการะ และสัมมานะ ด้วยกำลังอธิษฐานของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.
                 เมื่อกาลล่วงไป สักการะและสัมมานะก็ไม่มีในที่ทั้งปวง. เวลาพระศาสนาเสื่อมลง พระธาตุทั้งหลายในตามพปัณณิทวีปนี้ จักประชุมกันแล้วไปสู่มหาเจดีย์ จากมหาเจดีย์ ไปสู่นาคเจดีย์ แต่นั้นจักไปสู่โพธิบัลลังก์. พระธาตุ ทั้งหลายจากนาคพิภพบ้าง จากเทวโลกบ้าง จากพรหมโลกบ้าง



พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 172
จักไปสู่โพธิบัลลังก์แห่งเดียว. พระธาตุแม้ประมาณเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาดจักไม่หายไปในระหว่าง. พระธาตุทั้งหมดจักประชุมกันที่ มหาโพธิมัณฑสถานแล้ว รวมเป็นพระพุทธรูป แสดงพุทธสรีระ ประทับนั่งขัดสมาธิ ณ โพธิมัณฑสถาน. มหาปุริสลักษณะ ๓๒ อนุพยัญชนะ ๘๐ พระรัศมีประมาณวาหนึ่ง ทั้งหมดครบบริบูรณ์ทีเดียว. แต่นั้นจักกระทำปาฏิหาริย์แสดง เหมือนในวันแสดงยมกปาฏิหาริย์.
                  ในกาลนั้น ชื่อว่า สัตว์ผู้เป็นมนุษย์ ไม่มีไปในที่นั้น.ก็เทวดาในหมื่นจักรวาฬ ประชุมกันทั้งหมด พากันครวญคร่ำรำพันว่า วันนี้พระทสพลจะปรินิพพาน จำเดิมแต่บัดนี้ไป จักมีแต่ความมืด.ลำดับนั้น เตโชธาตุลุกโพลงขึ้นจากพระสรีรธาตุ ทำให้พระสรีระนั้นถึงความหาบัญญัติมิได้. เปลวไฟที่โพลงขึ้นจากพระสรีรธาตุ พลุ่งขึ้นจนถึงพรหมโลก เมื่อพระธาตุแม้สักเท่าเมล็ดพรรณผักกาดยังมีอยู่ ก็จักมีเปลวเพลิงอยู่เปลวหนึ่งเท่านั้น เมื่อพระธาตุหมดสิ้นไป เปลวเพลิงก็จักขาดหายไป. พระธาตุทั้งหลายแสดงอานุภาพใหญ่อย่างนี้แล้ว ก็อันตรธานไป.
                  ในกาลนั้น หมู่เทพกระทำสักการะด้วยของหอม ดอกไม้และดนตรีทิพย์เป็นต้น เหมือนในวันที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายปรินิพพาน กระทำปทักษิณ ๓ ครั้ง ถวายบังคมแล้ว กราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พวกข้าพระองค์ จักได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้เสด็จอุบัติขึ้นในอนาคต ดังนี้แล้วก็กลับไปที่อยู่ของตน ๆ นี้ ชื่อว่า อันตรธานแห่งพระธาตุ.
                  การอันตรธานแห่งปริยัตินั่นแล เป็นมูลแห่งอันตรธาน ๕ อย่างนี้ จริงอยู่เมื่อพระปริยัตติอันตรธานไป ปฏิบัติก็ย่อมอันตรธาน
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 173
                  เมื่อปริยัตติคงอยู่ ปฏิบัติก็คงอยู่. เพราะเหตุนั้นแหละ ในคราวมีภัยใหญ่ครั้งพระเจ้าจัณฑาลติสสะในทวีปนี้ ท้าวสักกะเทวราช นิรมิต แพใหญ่แล้วแจ้งแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ภัยใหญ่จักมี ฝนจักไม่ตกต้องตามฤดูกาล ภิกษุทั้งหลายพากันลำบากด้วยปัจจัย ๔ จักไม่สามารถเพื่อจะทรงพระปริยัติไว้ได้. ควรที่พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายจะไปยังฝั่งโน้นรักษาชีวิตไว้ โปรดขึ้นแพใหญ่นี้ไปเถิด เจ้าข้า ที่นั่งบนแพนี้ไม่เพียงพอแก่ภิกษุเหล่าใด ภิกษุเหล่านั้น จงเกาะขอนไม้ไปเถิด ภัยจักไม่มีแก่ภิกษุทั้งปวง.
                  ในกาลนั้น ภิกษุ ๖๐ รูปไปถึงฝั่งสมุทร แล้วกระทำกติกากันไว้ว่า ไม่มีกิจที่พวกเราจะไปในที่นั้น พวกเราจักอยู่ในที่นี้แล จักรักษาพระไตรปิฎก ดังนี้แล้ว จึงกลับจากที่นั้น ไปสู่ทักขิณมลยะชนบท เลี้ยงชีวิตอยู่ด้วยรากเหง้า และใบไม้. เมื่อร่างกายยังเป็นไปอยู่ก็พากันนั่งกระทำการสาธยาย เมื่อร่างกายเป็นไปไม่ได้ ย่อมพูนทรายขึ้นล้อมรอบศีรษะไว้ในที่เดียวกันพิจารณาพระปริยัติ. โดยทำนองนี้ ภิกษุทั้งหลาย ทรงพระไตรปิฎก พร้อมทั้งอรรถกถาให้บริบูรณ์อยู่ได้ถึง ๑๒ ปี.
                  เมื่อภัยสงบ ภิกษุ ๗๐๐ รูป ไม่ทำแม้อักขระตัวหนึ่ง แม้พยัญชนะตัวหนึ่ง ในพระไตรปิฎก พร้อมทั้งอรรถกถาจากสถานที่ ๆในรูปแล้ว ให้เสียหาย มาถึงเกาะนี้แหละ เข้าไปสู่มณฑลารามวิหาร ในกัลลคามชนบท. ภิกษุ ๖๐ รูป ผู้ยังเหลืออยู่ในเกาะนี้ ได้ฟังเรื่องการมาของพระเถระทั้งหลาย คิดว่า จักเยี่ยมพระเถระทั้งหลาย จึงไปสอบทานพระไตรปิฎกกับพระเถระทั้งหลาย ไม่พบแม้อักขระตัวหนึ่ง แม้พยัญชนะตัวหนึ่ง ชื่อว่าไม่เหมาะสมกัน.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 174
พระเถระทั้งหลายเกิดสนทนากันขึ้นในที่นั้นว่า ปริยัติเป็นมูล แห่งพระศาสนา หรือปฏิบัติเป็นมูล. พระเถระผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร กล่าวว่า ปฏิบัติเป็นมูลแห่งพระศาสนา. ฝ่ายพระธรรมกถึกทั้งหลาย กล่าวว่า พระปริยัติเป็นมูล. ลำดับนั้น พระเถระเหล่านั้นกล่าวว่า เราจะไม่เชื่อโดยเพียงคำของท่านทั้งสองฝ่ายเท่านั้น ขอพวกท่านจงอ้างพระสูตรที่พระชินเจ้าทรงภาษิตไว้. พระเถระ ๒พวกนั้นกล่าวว่า การนำพระสูตรมาอ้าง ไม่หนักเลย พระเถระฝ่ายผู้ทรงผ้าบังสุกุล จึงอ้างพระสูตรว่า
                  ดูก่อนสุภัททะ. ก็ภิกษุ ทั้งหลายในพระศาสนานี้ พึงอยู่โดยชอบ โลกไม่พึงว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย. ดูก่อนมหาบพิตร พระศาสนาของพระศาสดา มีปฏิบัติเป็นมูล มีการปฏิบัติเป็นสาระ เมื่อทรงอยู่ในการปฏิบัติ ก็ชื่อว่ายังคงอยู่. ฝ่ายเหล่าพระธรรมกถึกได้ฟังพระสูตรนั้นแล้ว เพื่อจะรับรองวาทะของตน จึงอ้างพระสูตรนี้ว่าพระสูตรยังดำรงอยู่ตราบใด พระวินัยยังรุ่งเรืองอยู่ตราบใด ภิกษุทั้งหลายย่อมเห็นแสงสว่าง เหมือนพระอาทิตย์อุทัย อยู่ตราบนั่น เมื่อพระสูตรไม่มีและแม้พระวินัยก็หลงเลือนไป ในโลกก็จักมีแต่ความมืด เหมือนพระอาทิตย์อัสดงคต
                 เมื่อภิกษุยังรักษาพระสูตรอยู่ ย่อมเป็นอันรักษาปฏิบัติไว้ด้วย นักปราชญ์ดำรงอยู่ในการปฏิบัติ ย่อมไม่คลาดจากธรรมอันเกษมจากโยคะ ดังนี้ เมื่อพระธรรมกถึก นำพระสูตรนี้มาอ้าง พระเถระผู้ทรงผ้าบังสุกุล
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 175
ทั้งหลายก็นิ่ง. คำของพระเถระผู้เป็นธรรมกถึกนั้นแล เชื่อถือได้.เหมือนอย่างว่า ในระหว่างโคผู้ ๑๐๐ ตัว หรือ ๑๐๐๐ ตัว เมื่อไม่มี แม่โคผู้จะรักษาเชื้อสายเลย วงศ์เชื้อสาย ก็ไม่สืบต่อกัน ฉันใด เมื่อภิกษุเริ่มวิปัสสนา ตั้ง ๑๐๐ ตั้ง ๑๐๐๐ รูป มีอยู่ แต่ปริยัติไม่มีชื่อว่าการแทงคลอดอริยมรรคก็ไม่มี ฉันนั้นนั่นแล.
                 อนึ่งเมื่อเขาจารึกอักษรไว้หลังแผ่นหิน เพื่อจะให้รู้ขุมทรัพย์ อักษรยังทรงอยู่เพียงใด ขุมทรัพย์ทั้งหลาย ชื่อว่ายังไม่เสื่อมหายไปเพียงนั้น ฉันใด เมื่อปริยัติ ยังทรงอยู่ พระศาสนา ก็ชื่อว่ายังไม่อันตรธาน ไป ฉันนั้นเหมือนกันแล.
                                                                       จบ อรรถกถาวรรคที่ ๑๐











ให้คะแนนโพสต์ตามความรู้สึกคุณ

สุดยอด

เศร้า

น่าตลก

แฮปปี้

โกรธ

เบื่อ

ผวา
ผู้ให้ย่อมเป็นที่รักของผู้ถูกให้:
กล่องตอบกลับด่วน
จำกัด255 ตัวอักษร
ขี้เกียจตอบหรือเปล่า ใช้ตรงนี้สิ!!
กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
 
ถอยกลับ ถัดไป